ค้นหาสินค้า

กระชายดำ 0815673612


โดย Thaiherb.supply

กระชายดำ 8 ตำรายาไทย    
กระชายดำ พืชสมุนไพรที่นิยมนำมาผลิตเป็นยารักษาโรค ยาบำรุงร่างกาย และเครื่องดื่ม เป็นพืชที่นิยมนำมาปลูกกันในภาคเหนือ อีสาน กระชายดำ จัดว่าเป็นพืชสมุนไพรที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ทั้งผู้บริโภค เพราะจากประสบการณ์ของผู้ใช้กระชายดำมีรายงานว่าใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้ใจสั่น แก้บิด แก้ปวดข้อ ทำให้โลหิตหมุนเวียนดีขึ้น ผิวพรรณผุดผ่องสดใส ขับปัสสาวะ แก้โรคกระเพาะ และปวดท้อง เป็นต้น ส่วนที่นิยมนำมาใช้ทางสมุนไพร เหง้า (หัวใต้ดิน)    
กระชายดำ (Kaempferia Pafiflora)    
ชื่อวิทยาศาสตร์: Kaempferia parviflora Wall. ex Baker    
ชื่อวงศ์: ZINGIBERACEAE    
ชื่อทั่วไป ว่านจังงัง ว่านพญานกยูง ว่านกั้นบัง ว่านกำบัง ว่านกำบังภัยกะแอน ระแอน (ภาคเหนือ) ขิงทราย (มหาสารคาม) ว่านเพชรดำ กระชายม่วง    
   
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์    
ต้น :  เป็นพรรณไม้ล้มลุก เป็นพืชอายุสั้น มีเหง้าหรือหัวใต้ดิน ขนาดลำต้นสมบูรณ์เต็มที่สูงประมาณ 30 ซม. ส่วนของแกนกลางลำต้นจะมีลักษณะแข็ง มีกาบใบที่อวบหนา นุ่ม หุ้มแกนลำต้นไว้ ลำต้นโดยรวมจะอวบอุ้มน้ำเหมือนกับพืชล้มลุกทั่วไป      
ใบ :  เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ออกเรียงสลับซ้อนกันเป็นรูปกรวย และจะแยกออกจากกันเป็นอิสระเมื่อโตขึ้น สีของใบกระชายดำเมื่อเริ่มแตกใบอ่อนจะมีสีเข้มม่วงอมแดง และจะค่อยๆ สีจางไปเป็นสีเขียวเข้ม เส้นขอบใบจะมีสีแดงระเรื่อ หรืออมชมพูคล้ายรอยไหม้ กาบใบจะยาวเป็นร่อง แทงขึ้นมาจากหัวที่อยู่ในดิน เมื่อนำมาบดขยี้จะมีกลิ่นหอม ขนาดใบกว้าง 6-9 เซนติเมตร ยาว20-25 เซนติเมตร ลักษณะสีของใบจะบ่งบอกของสีเนื้อในของหัวหรือเหง้าที่อยู่ใต้ดินเมื่อแก่เต็มที่ก็จะเป็นสีม่วงด้วยแต่ต้นใดมีก้านใบ ขอบใบ และใต้ใบเป็นสีเขียวเหมือนใบไม้ทั่วไปหัวหรือเหง้าที่แก่จัดก็จะมีเนื้อในเป็นสีน้ำตาลอ่อน    
ดอก : เมื่อปลูกได้ 7-8 เดือน จะปรากฏเป็นช่อดอกเล็กๆ โผล่ออกจากโคนต้นเหนือดินประมาณ 5-7 เซนติเมตร ลักษณะกลีบดอกด้านบนจะเป็นสีขาวนวล ด้านล่างเป็นสีม่วงอ่อน เกสรตัวเมียจะเป็นท่อยาวยื่นออกมาตรงกลางดอกปลายเกสรเป็นรูปแตร    
เหง้ากระชายดำ :  นั้นมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม เป็นปุ่มปมเรียงต่อกัน และมักมีขนาดเท่า ๆ กัน มีหลายเหง้าและอวบน้ำ ผิวเหง้ามีสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลเข้ม และอาจพบรอยที่ผิวเหง้าเป็นบริเวณที่จะงอกของต้นใหม่ ส่วนเนื้อภายในของเหง้ามีสีม่วงอ่อน สีม่วงเข้ม ไปจนถึงสีม่วงดำ เหง้ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีรสชาติขมเล็กน้อย โดยกระชายดําที่ดีนั้นจะต้องมีสีม่วงเข้มถึงสีดำ    
พันธุ์กระชายดำ    
พันธุ์กระชายดำ จำแนกตามสีที่พบบริเวณท้องใบ ก้านใบ ขอบใบ และสีเนื้อหัว  ดังนี้    
1. พันธุ์ใบแดง    
เป็นกระชายดำที่นิยมมากที่สุด มีลักษณะเหมือนกับกระชายดำทั่วไป แต่มีสีของใบที่เด่นสวยงาม คือ ด้านหลังใบมีสีแดงอมม่วง ด้านหน้าใบมีสีเขียว ขอบใบมีเส้นสีน้ำตาลอมแดง ลำต้น และก้านใบมีสีแดงอมม่วงเข้ม  หัวมีลักษณะกลม สีเนื้อหัวเป็นสีม่วงเข้มจนถึงดำเหมือนสีลูกหว้า ทั้งนี้ ความเข้มของสีใบและสีเนื้อหัวจะขึ้นกับความอุดมสมบูรณ์ของดิน น้ำ และการดูแลรักษา เป็นพันธุ์ที่มีราคาแพงกว่าพันธุ์อื่นๆ ชาวบ้านมักเรียกว่า “สายพันธุ์ตัวผู้”    
2. พันธุ์ใบเขียว    
เป็นกระชายดำที่ได้รับความนิยมเหมือนกับพันธุ์ใบแดง พันธุ์นี้มีความแตกต่างกับพันธุ์ใบแดงที่สีใบจะเป็นสีเขียวนวลทั้งด้านหน้า และด้านหลัง ลำต้น และกาบใบมีสีเขียวอย่างเดียว ก้านดอกมีสีเขียว กลีบดอกมีสีม่วงสวยงาม มีเส้นรอบกลีบดอกเป็นสีขาว เนื้อมีสีน้ำตาลจนถึงน้ำตาลเข้ม ลักษณะหัวกลมรีน้อยกว่าพันธุ์ใบแดง  และราคาจะถูกกว่า ชาวบ้านมักเรียก “พันธุ์ตัวเมีย”    
3. พันธุ์กระชายขาวหรือว่านเพชรกลับ    
เป็นพันธุ์ที่พบมากตามป่า ลักษณะต่างจากกระชายดำ คือ มีลักษณะลำต้นทอดสูงเหมือนต้นขิง ความสูงประมาณ 80-90 เซนติเมตร กาบใบ และใบขึ้นสลับด้านข้างลำต้น ก้าบใบ และใบมีสีเขียว ด้านหลังใบมีสีม่วงเข้ม ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกด้านนอกมีสีขาวด้านในมีสีแดงแกมม่วง    
หัวมีลักษณะเหมือนกระชายดำทั่วไป แต่จำนวนแง่งต่อเหง้าน้อยกว่า สีเนื้อหัวมีสีขาว เป็นที่มาของชื่อ “กระชายขาว” หัวมีกลิ่น และรสชาติยังเหมือนกระชายดำ และมีสรรพคุณเหมือนกระชายดำทุกประการ    
ตามความเชื่อของคนชนบท หากนำหัวว่านกระชายขาวติดตัวเวลาเดินป่า ว่านจะช่วยไม่ให้หลงป่า และนำทางกลับ จึงเป็นที่มาของชื่อ “ว่านเพชรกลับ” หรือ “ว่านชักกลับ” จากการสำรวจพบมากที่ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก    
4. พันธุ์กระชายหอม/ว่านหอม/กระชายเหลือง    
เป็นพันธุ์ที่หายากในปัจจุบัน ไม่พบการปลูก และขายพันธุ์ให้เห็น ต้องเสาะแสวหาตามป่าลึก  จึงทำให้มีราคาสูงกว่ากระชายดำพันธุ์ใบแดง และพันธุ์อื่นๆ ประมาณ 3-5 เท่าตัว เนื่องจากหายาก และเชื่อว่าสรรพคุณเหนือกว่ากระชายดำพันธุ์อื่นๆ    
กระชายหอมมีลักษณะต้น ใบ และราก เหมือนกับกระชายดำพันธุ์ใบเขียวทุกประการ แต่สีเนื้อหัวจะมีสีขาวอมเหลืองอ่อน ๆ และมีเอกลักษณ์ที่มีกลิ่นหอม ชวนรับประทานมากกว่ากระชายดำ    
กระชายดำ (เนื้อดำแท้) กับ กระชายม่วง (เนื้อสีดำแกมม่วง)    
กระชายดำ (ดำแท้) จะมีใบเขียวเกือบเข้ม และทรงใบเรียวยาวมากกว่ากระชายม่วง ใต้ใบ และขอบใบมีสีม่วงแกมอย่างเห็นได้ชัด ส่วนใบกระชายม่วงมีสีเขียวอ่อน ปลายค่อนข้างมน ขอบใบ และใต้ใบมีสีม่วงแกมเล็กน้อยหรือไม่มีเลย    
   
สรรพคุณตามตำรายาไทย: กระชายดำ เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาสูงจัด ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เป็นยาอายุวัฒนะ (เชื่อว่าช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศชาย) ใช้บำรุงกำลัง  แก้ปวดเมื่อย และแก้อาการเหนื่อยล้า  กระตุ้นระบบประสาท แก้ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ ขับลม แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง  ขับปัสสาวะ  รักษาสมดุลความดันโลหิต ขยายหลอดเลือดหัวใจ โรคเก๊าต์ โรคกระเพาะอาหาร รักษาระบบการย่อยอาหารให้เกิดสมดุลย์ โรคบิด โรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด โรคหัวใจ สำหรับสุภาพสตรีทานแล้วจะช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนทางเพศ ทำให้โลหิตไหลเวียนดีขึ้น ผิวพรรณผุดผ่องสดใส แก้อาการตกขาว แก้โรคมดลูกพิการ มดลูกหย่อน  ประจำเดือนมาไม่ปกติ    
   
บางตำรามีการนำกระชายดำมาใช้ในการแก้อาการการต่างๆตามขนาด และวิธีใช้ดังนี้    
1. แก้ท้องร่วงท้องเดิน    
การใช้ : ใช้หัวกระชายดำสด 1-2 หัว ฝานเป็นแผ่นบางๆ ก่อนนำไปปิ้งไฟแห้ง จากนั้น นำมาตำบดให้ละเอียด ก่อนผสมกับน้ำใสหรือคั้นน้ำเปล่า 3-5 แก้ว ดื่ม    
2. แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียด ปวดมวนในท้อง    
การใช้ : นำหัวกระชายดำ 2-3 หัว นำมาต้มดื่ม หรือใช้ประกอบอาหารรับประทาน    
3. แก้โรคบิด    
การใช้ : นำหัวกระชายดำสด 2 หัว บดให้ละเอียด แล้วเติมน้ำปูนใส และน้ำเปล่า 3 แก้ว ก่อนคั้นเอาน้ำดื่ม    
4. ยาบำรุงหัวใจ    
การใช้ : ใช้หัว และราก ที่ปอกเปลือก และล้างน้ำให้สะอาด จากนั้น นำมาหั่นเป็นแผ่น ก่อนนำไปตากให้แห้ง แล้วนำมาบดเป็นผง หลังจากนั้น นำผงกระชายดำแห้ง 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อน 1 แก้วดื่ม    
5. ยารักษาริดสีดวงทวาร    
การใช้ : ใช้เหง้าสด 60 กรัม หรือ ประมาณ 6-8 เหง้า มาตำบดก่อนต้มกับน้ำ 1 ลิตร พร้อมเติมมะขามเปียก 1 ก้อน เกลือแกง 1 ช้อน แล้วเคี่ยวจนเหลือครึ่งลิตร ดื่มรับประทานครั้งละครึ่งแก้วก่อนนอน ดื่มติดต่อกัน 1 เดือน ริดสีดวงจะหายไป    
6. รักษาอาการโลหิตเป็นพิษและบำรุงเลือด    
การใช้ : หั่นหัวกระชายดำเป็นแว่นบางๆ จากนั้น นำมาแช่ด้วยเหล้า นาน 3-5 วัน ก่อนใช้ดื่มครั้งละค่อนแก้ว ก่อนรับประทานอาหาร    
7. ใช้บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัดแก้โรคกามตายด้าน    
การใช้ : นำหัวกระชายดำ 2-3 หัว ต้มกับไก่หรือนึ่งกับไก่รับประทาน    
8. ทำให้ผมดำ    
การใช้ : ใช้หัวประชายดำ 2-3 หัว ต้มน้ำดื่ม หรือ นำหัวกระชายดำมาตำบด ผสมน้ำเล็กน้อย ก่อนใช้พอกผม ช่วยให้ผมดกดำดีขึ้น    
   
มีการนำกระชายดำมาแปรรูปและวิธีใช้ต่างๆมากมาย    
สำหรับวิธีการใช้กระชายดำเพื่อเป็นยาอายุวัฒนะ ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง แก้โรคบิด และลมป่วงทุกชนิด    
1. กระชายดำแบบหัวสด    
การรับประทาน: ใช้รากเหง้า(หัวสด) ประมาณ 4-5 ขีด ดองกับเหล้าขาว 1 ขวด ดองสุราขาวดื่มก่อนรับประทานอาหารเย็น ปริมาณ 30 ซีซี. ผู้ที่ดื่มสุราไม่ได้ ให้ฝานเป็นแว่นบางๆ แช่น้ำร้อนดื่มทุกวัน หรือจะดองกับน้ำผึ้งก็ได้ ในอัตราส่วน 1:1    
   
2. กระชายดำหัวแห้ง    
การผลิตกระชายดำแห้ง:    
การทำกระชายดำแบบฝานเป็นแว่นอบแห้ง ก็โดยการนำหัวสดของกระชายดำไปล้าง ทำความสะอาด นำมาฝานเป็นแว่น แล้วนำเข้าตู้อบ อบให้แห้งที่อุณหภูมิสูง หรือตากแดดแรงจัด 4-5 วัน จนแห้งได้ ที่แล้ว จึงนำมา เก็บไว้ในที่แห้งและเย็น ซึ่งวิธีการนี้ จะช่วยให้เก็บรักษากระชายดำได้นาน    
การรับประทาน:    
เหง้าแห้งก็ให้ใช้ดองกับน้ำผึ้งในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 นาน 7 วัน แล้วนำมาใช้ดื่มก่อนนอน  หรือนำไปดอง กับเหล้าขาวแล้วแต่งรสด้วยน้ำผึ้งเพื่อรสชาดที่ดีขึ้นได้ตามชอบใจ ดื่มก่อนนอนวันละ 30 ซีซี. ( 1 เป็ก)    
หัวแห้ง ประมาณ 15 กรัม (1 กล่อง) ดองกับเหล้าขาว 1 แบน ผสมน้ำผึ้ง    
หรือบางตำรามีการนำหัวแห้ง บดเป็นผงละเอียด ผสม น้ำผึ้ง พริกไทยป่น กระเทียมผง บอระเพ็ดผง ในอัตราส่วน 10 : 5 : 2 : 1 : 0.5    
3. กระชายดำแบบชาชง    
การผลิตกระชายดำ:    
นำหัวกระชายดำที่ฝานเป็นแว่น อบให้แห้ง แล้วนำมาบดให้ละเอียด แล้วจึงบรรจุซอง กระชายดำแบบชาชง จะไม่มีส่วนผสมอื่นอีก จะมีแต่กระชายดำแท้ 100% เท่านั้น    
วิธีใช้: กระชายดำ 1 ซอง ชงน้ำร้อน 1แก้ว (ประมาณ 120 ซีซี.)    
   
ข้อแนะนำ:    
หากต้องการรสชาติที่ดีขึ้น สามารถแต่งรสด้วยน้ำตาล หรือน้ำผึ้ง ตามชอบ    
หากเป็นแบบชงหรือแบบผง ให้ใช้ผงแห้ง 1 ซองชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว (ขนาด 120 cc.) และแต่งรสด้วยน้ำผึ้งหรือน้ำตาลตามความต้องการแล้วนำมาดื่ม<4>    
4. ไวน์กระชายดำ    
ตามความหมายในภาษาอังกฤษนั้น ไวน์ (wine) หมายถึง "เหล้าองุ่น"เท่านั้น ตามกระแสนิยม สำหรับคนไทยนั้น คำว่า "ไวน์" หมายถึง ผลไม้ หรือสมุนไพรที่นำมาหมักแล้วได้แอลกอฮอล์ ไม่เกิน 15 ดีกรี ซึ่งกรรมวิธีผลิตก็ทำเช่นเดียวกับไวน์ในต่างประเทศ แต่ในกฎหมายไทยตามพระราชบัญญัติสุราฯ นั้นเรียกว่า "สุราแช่" ดังนั้น อนุโลมที่จะเรียกผลไม้หรือสมุนไพรที่นำมาหมักว่า "ไวน์" และต่อท้ายด้วยชื่อผลไม้หรือสมุนไพรที่นำมาทำเป็นวัตถุดิบนั้น เช่น ไวน์สัปปะรด ไวน์ลูกยอ ไวน์ลูกหม่อน เพราะไม่สามารถที่หาคำใดมาเรียก ได้เหมาะสม และเข้าใจได้ง่าย    
การทำไวน์กระชายดำ    
เครื่องปรุง :    
กระชายดำ 1 กก. /นํ้าสะอาด / นํ้าตาลทราย / กรดมะนาว / สาร KMS DAPและเชื้อยีสต์    
วิธีทำ :    
1.  ล้างและหั่นกระชายดำ ตัดส่วนที่ไม่ดีทิ้งไป    
2.  เติมนํ้าสะอาด 12 เท่า    
3.  เติมนํ้าตาลทรายเพื่อเพิ่มความหวาน วัดปริมาณที่ 21 - 22 บริกซ์ (Brix) ด้วยเครื่องวัดความหวานของผลไม้ทั่วไป    
4.  เติมกรดมะนาว 2 กรัม / ลิตร    
5.  นำไปต้มให้เดือด 4-5 นาที แล้วทำให้เย็น    
6.  อาจจะเติม KMS 150 มิลลิกรัม / ลิตร และ DAP 0.5 - 1.0 กรัม / ลิตร และเติมเชื้อยีสต์    
7.  หมักที่ 20 - 21 องศาเซลเซียส ทิ้งไว้ประมาณ 4 - 5 สัปดาห์    
8.  กำจัดตะกอน เพื่อให้ไวน์ใส    
9.  กรองและกำจัดเชื้อจุลินทรีย์และความขุ่นอีกครั้ง    
10. เติม KMS ประมาณ 80 มิลลิกรัม / ลิตร    
11.บรรจุขวดที่สะอาดปิดฝาให้แน่น และเก็บไว้ในที่เย็น    
หมายเหตุ :    
ขั้นตอนที่ 6 อาจจะไม่ต้องทำก็ได้ ส่วนสาร KMS และ DAP สามารถสอบถามได้ที่กรมวิชาการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วท.) เป็นต้น    
วิธีการเก็บรักษา1. เก็บไว้ในสถานที่มีอุณหภูมิ 10-18 องศาเซลเซียส   2. เก็บไว้ในตู้เย็น    
การปลูกกระชายดำ    
กระชายดำเป็นพืชล้มลุกสามารถปลูกเจริญงอกงามได้ทุกภูมิภาคของประเทศไทยที่มีสภาพพื้นที่อุดมสมบูรณ์ร่วนซุยน้ำไม่ขังหรือสภาพพื้นที่มีการระบายน้ำได้ดี มีแร่ธาตุอาหารในดินที่ได้จากปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักพอเหมาะต่อการเจริญเติบโตได้ตามสภาพแวดล้อมที่ดี ชอบอากาศหนาวเย็น    
การขยายพันธุ์ : โดยทั่งไปนิยมขยายพันธ์กระชายดำด้วยการแยกเหง้าปลูกเพราะสะดวกและทำได้ง่ายกว่าการเพาะเนื้อเยื่อหรือเพาะเมล็ด    
สภาพดินฟ้าอากาศ : กระชายดำเป็นพืชที่มีประโยชน์จากหัวหรือเหง้าที่ขุดขึ้นมาจากใต้ดินเป็นพืชอายุสั้นนับจากวันปลูกถึงวันเก็บเกี่ยวประมาณ 8-10 เดือน และมีระยะการพักตัวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ (ถ้าปลูกในช่วงระยะการพักตัวกระชายดำจะแตกยอด) ดังนั้นการปลูกควรเริ่มตั้งแต่ มีนาคม-พฤษภาคมไปเก็บเกี่ยวในเดือนตุลาคม-ธันวาคม ถ้าปลูกนอกฤดูกาลนี้ก็เจริญเติบโตเป็นต้นได้แต่การใช้หัวอาจจะน้อยหรือไม่มีหัวเลย    
การเตรียมหัวกระชายดำสำหรับปลูก : หัวพันธุ์หรือแง่งที่ใช้ปลูกควรเป็นหัวแก่ อายุประมาณ 10-12 เดือน หัวกระชายดำหัวหนึ่งจะมีหลายแง่ง ให้บิ(หัก)ออกมาเป็นแง่ง ๆ ถ้าแง่งเล็กก็ 2-3 แง่ง ถ้า แง่งใหญ่สมบูรณ์ก็แค่แง่งเดียวก็พอ เพราะเมื่อกระชายดำโตขึ้น กระชายดำก็จะแตกหน่อ และเกิดหัวกระชายดำหัวใหม่ขึ้นมาแทน และจะขยายหัวและหน่อออกไปเรื่อยๆ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา ส่วนหัวหรือแง่งที่ใช้ปลูกในตอนแรกจะเหี่ยวและแห้งไปในที่สุด ก่อนนำไปปลูก ควรทารอยแผลของแง่งกระชายดำที่ถูกหักออกมาด้วยปูนกินหมาก หรือจะจุ่มในน้ำยากันเชื้อราก็ได้ แล้วผึ่งในที่ร่มจนหมาดหรือแห้ง แล้วจึงนำไปปลูก    
การปลูก : แยกหัวกระชายดำออกเป็นข้อนำแต่ละข้อไปปลูกลงในแปลงที่เตรียมไว้โดยปลูกห่างกันระหว่าง 30-35 เซนติเมตร ฝังหัวกลบดินหนาประมาณ 1-2 เซนติเมตร ถ้าลึกมากจะงอกช้าหรืออาจทำให้หัวเน่าไปเลยก็ได้    
การเตรียมดินปลูกในไร่    
การปลูกในแปลง เตรียมดินด้วยการไถพรวนดินร่วมกับกำจัดวัชพืช และตากดินนาน 1-2 อาทิตย์ เพื่อปรับสภาพดิน หลังจากนั้น ว่านโรยด้วยปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์ต่างๆหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 2-5 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30-50 กิโลกรัม/ไร่ พร้อมไถยกร่องระยะห่าง 50-70 เซนติเมตร หรืออาจเพียงไถพรวนดินกลบก็ได้ เพราะจะสามารถปลูกในระยะตามที่กำหนดได้ไม่เหมือนกับการไถยกร่องที่อาจเปลืองพื้นที่มาก ก่อนปลูกควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินในอัตรา 200 - 400 กก./ไร่ ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน โดยฝังเง้าหรือหัวพันธุ์ลงในหลุมปลูกลึก ประมาณ 5-10 ซม.ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เหง้าพันธุ์ประมาณ 160-200 กก.    
การปลูกแบบยกร่องกว้างประมาณ 1.50 เมตร ขุดหลุมลึกประมาณ 10 - 15 ซม.ใส่ปุ๋ยคอกให้พอเหมาะ แล้วทำการปลูก ระยะห่างระหว่างหลุมและแถวประมาณ 30 X 30 ซม. ใส่หัวหรือเหง้า 2-3 หัว (แง่ง) ต่อหลุม แล้วกลบหลุมรดน้ำให้ชุ่ม    
วิธีการปลูก    
ระยะปลูกระหว่างแถว และหลุมประมาณ 20 x 20 เซนติเมตร ถึง 20 x 30 เซนติเมตร ใช้ 2-5 แง่ง/หลุม โดยการขุดหลุมฝังแง่งในระดับประมาณ 5-10 เซนติเมตร ไม่ควรฝังลึก เพราะอาจทำให้แง่งเน่าได้ง่าย พื้นที่ 1 ไร่ จะใช้แง่งพันธุ์ประมาณ 160-200 กก    
การปลูกลงในกระถาง    
ควรใช้กระถางที่มีขนาดกลาง -ใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15-18 นิ้ว เพื่อให้มีพื้นที่ในการขยายหัวหรือเหง้า ใส่วัสดุปลูกให้มาก ๆ ประมาณ 3 ใน 4 ส่วนของกระถาง (ปุ๋ยคอก 1 ส่วน/ดิน 2 ส่วน) จะทำให้ได้หัวที่มีคุณภาพและมีปริมาณหัวต่อต้นมาก การปลูกในกระถางควรใช้หัวหรือเหง้า ประมาณ 3-5 หัว (แง่ง) แล้วแต่ขนาดของกระถาง    
การดูแลรักษา    
เมื่อต้นกระชายดำอายุได้ 1 เดือน ควรดายหญ้ากำจัดวัชพืชพร้อมทั้งใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 1,000 กก./ไร่ (ไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีเพราะจะทำให้หน่อกระชายดำที่เกิดใหม่ยาว และสีของหัวกระชายดำไม่ดำ ทำให้คุณภาพเปลี่ยนไป) และเมื่อต้นกระชายดำอายุได้ 2 เดือน ให้พรวนดินกลบโคนต้นควรมีการปลูกซ่อมในหลุมที่ไม่งอก    
การเก็บเกี่ยว    
เมื่อกระชายดำอายุได้ 10-12 เดือน สังเกตจากใบและลำต้นที่เริ่มมีสีเหลือง เริ่มเหี่ยวแห้งและหลุดออกจากต้น ระยะนี้ คือ ระยะพักตัวของกระชายดำเพราะจะทำให้กระชายดำมีโอกาส ได้สะสมอาหารและตัวยาได้เข้มข้นอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะขยายพันธุ์ต่อไป จึงเป็นระยะที่เก็บเกี่ยวได้ดี ทำให้ได้กระชายดำที่มีคุณภาพดี กระชายดำที่ปลูกในเขตพื้นที่อำเภอนาแห้ว - อำเภอภูเรือ จะได้รับผลผลิตประมาณ 650-900 กก./ไร่    
การเก็บรักษาพันธุ์    
กระชายดำที่แก่จัดจะมีอายุประมาณ 11-12 เดือน หัวจะต้องสมบูรณ์ อวบใหญ่ปราศจากเชื้อโรค เก็บไว้ในที่แห้งและเย็นนาน ประมาณ 1-3 เดือน จึงจะนำไปปลูกต่อได้    
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++    
จำหน่ายกระชายดำอบแห้ง กระชายดำสด คุณภาพมาตรฐาน    
สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ เดอะ ซัน เฮิร์บ    
Line ID 0815673612    
โทร 0815673612    
https://www.facebook.com/Thesunherb/    
https://thesunherb.lnwshop.com/    

คำสำคัญ: กระชายดำ กระชาย