ค้นหาสินค้า

เชื้อราไตรโคเดอร์มา ชนิดน้ำ

ร้าน สวนเกษตรผสมผสาน
เชื้อราไตรโคเดอร์มา ชนิดน้ำ
เชื้อราไตรโคเดอร์มา ชนิดน้ำ
ชื่อสินค้า:

เชื้อราไตรโคเดอร์มา ชนิดน้ำ

รหัส:
271343
ราคา:
250.00 บาท
ที่อยู่ร้าน:
อ.ดอนตูม จ.นครปฐม
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 6 ปี 10 เดือน
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
เชื้อราไตรโคเดอร์มามีหลากหลายสายพันธุ์ด้วยกัน ซึ่งแต่ล่ะสายพันธุ์จะมีความสามารถที่แตกต่างกันออกไป
ในที่นี้เซื้อราสายพันธุ์ที่เราใช้ได้ถูกคัดเลือกแล้วว่าดีที่สุดสำหรับโรคพืชที่เกิดในประเทศไทย เป็นเชื้อราชั้นสูง จัดเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ที่สามารถใช้ควบคุมโรคพืช ซึ่งเกิดจากเชื้อราสาเหตุโรคพืชในดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น โรคโคนเน่า โรคเน่าระดับดิน (เน่าคอดิน)ของกล้าพืช และโรคเหี่ยว
นอกจากจะยับยั้งแล้วยังใช้ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราเช่น
เชื้อราพิเทียม (โรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า)
เชื้อราฟิวซาเรียม (โรคเหี่ยว)
เชื้อราสเคลอโรเทียม (โรคโคนเน่า เหี่ยว)
เชื้อราไรซอคโทเนีย (โรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า)
เชื้อราคอลเรโตตริคัม (โรคใบจุด ใบไหม้ ผลเน่า แอนแทรคโนส )
เชื้อราโฟมอพซิส (โรคใบจุด ลำต้นไหม้ )
เชื้อราอัลเทอร์นาเรีย (โรคใบจุด ใบไหม้)
เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma harzianum) เป็นเชื้อราชั้นสูงเส้นใยมีผนังกั้นเจริญได้ดีในดิน เศษซากพืช ซากของสิ่งมีชีวิตต่างๆ และวัสดุอินทรีย์ตามธรรมชาติ สร้างเส้นใยสีขาวและผลิตส่วนขยายพันธุ์ที่เรียกว่า "โคนิเดีย" หรือ "สปอร์" เมื่อนำมาเพาะเลี้ยงจะเห็นเส้นใยสีขาวและ สปอร์สีเขียว บางชนิดอาจเป็นสีขาวหรือเหลือง เชื้อราไตรโคเดอร์มาจัดเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ (Antagonis fungicide) ที่สามารถใช้ควบคุมโรคพืชในดินหลายชนิดโดยวิธีการเบียดเบียนหรือ เป็นปรสิต แข่งขันหรือแย่งใช้อาหารที่เชื้อโรคต้องการ นอกจากนี้เชื้อราไตรโคเดอร์มายังสามารถช่วยละลายแร่ธาตุในดินให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและชักนำให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อเชื้อโรคพืชทั้งเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช สำหรับกลไกของเชื้อไตรโคเดอร์มาในการต่อสู้กับเชื้อสาเหตุโรคพืชมีดังนี้
- การแข่งขันกับเชื้อโรคพืช ด้วยเหตุที่เชื้อราไตรโคเดอร์มาเจริญสร้างเส้นใยได้รวดเร็ว สามารถสร้างสปอร์ได้ในปริมาณสูงมาก โดยอาศัยอาหารจากเศษวัสดุอินทรีย์ต่าง ๆ จึงช่วยให้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถแข่งขันกับเชื้อโรคพืชหรือจุลินทรีย์ที่อยู่บริเวณเดียวกัน นอกจากนี้เชื้อไตรโคเดอร์มายังรบกวนกิจกรรมต่าง ๆ ของเชื้อโรคทำให้ความรุนแรงลดลง
- การเป็นปรสิตต่อเชื้อโรคพืช เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถสร้างเส้นใยพันรัดแล้วแทง ส่วนของเส้นใยเข้าสู่ภายในเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืช ทำให้เส้นใยเชื้อโรคพืชตาย และไตรโคเดอร์มายังทำลายโครงสร้างที่เชื้อโรคพืชสร้างขึ้นเพื่อขยายพันธุ์หรืออยู่ข้ามฤดูปลูก
- การสร้างสารยับยั้งหรือทำลายเชื้อโรคพืช เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถสร้างสารปฏิชีวนะ สารพิษและน้ำย่อย(เอ็นไซม์) เพื่อหยุดยั้งหรือทำลายเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้
- การชักนำให้พืชมีความต้านทานโรค เชื้อราไตรโคเดอร์มาป้องกันระบบรากพืชจากการเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุโรคพืช ทำให้ระบบรากพืชสมบูรณ์แข็งแรง ช่วยให้เมล็ดงอกและเจริญเติบโตได้ดี ชักนำให้พืชผลิตสารประเภทเอนไซม์หรือโปรตีน เช่น เพนทิลไพโรน กรดฮาร์เซียนิค กระตุ้นให้เกิดความต้านทานโรคขึ้นภายในพืชคำอธิบาย
ประโยชน์ของการใช้ไตรโคเดอร์มา
ควบคุม ทำลายหรือยับยั้งเชื้อราในดินสาเหตุโรคพืชทั้งราชั้นสูงและราชั้นต่ำ เช่น
1. ทำลายเชื้อราพิเทียม (Pythium spp.) สาเหตุโรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า โคนเน่า โรคยอดเน่าในพืชไร่ มะเขือเทศ พืชผักชนิดต่างๆ
2. ทำลายเชื้อราไฟทอฟเทอร่า (Phytopthora spp.) สาเหตุโรคราที่ทำให้ผลร่วง ดอกร่วง
ใน ลำใย ลิ้นจี่ โรคดอกรวงในทุเรียน โรครากเน่า-โคนเน่า ใน พริก ทุเรียน ส้ม มะนาว พริกไท แตงโม แตงกวา แตงร้าน มะเขือเทศและโรคเน่าเข้าไส้ในกล้วย ฯลฯ
3. ทำลายเชื้อราสเคอโรเทียม (Sclerotium spp.) สาเหตุโรค โคนเน่า โรคกล้าไหม้ ราเม็ดผักกาด โรคเหี่่ยวในพืชผักชนิดต่าง ๆ มะเขือเทศ พืชไร่ สตรอเบอรี่ มันฝรั่ง
4. ทำลายเชื้อราไรซอกโทเนีย (Rhizoctonia spp.) สาเหตุโรคเน่าคอดิน กล้ายุบ กล้าเน่า ทำให้ทุเรียนเป็นโรคใบติด
5. ทำลายเชื้อราคอลเลทโททริกัม (Colletotrichum spp.) สาเหตุโรคแอนแทรคโนสในมะม่วง องุ่น ฝรั่ง พุทรา ชมพู่ มะละกอ พริก หอมหัวใหญ่ หอมแบ่ง หอมแดง กระเทียม มันฝรั่ง
6. ทำลายเชื้อราอัลเทอนาเรีย (Alternaria spp.) สาเหตุโรคโรคใบจุดเน่าในพืชตระกูลกระหล่ำ เช่น ผักคะน้า ผักกาดขาว กระหล่ำดอก กระหล่ำปลี บรอคโครี่ สตรอเบอรี่ มันฝรั่ง พริก
7. ทำลายเชื้อรา ฟิวชาเรียม (Fusarium spp.) สาเหตุโรคใบไหม้ในไม้ผล พืชไร่ พืชผักชนิดต่างๆ ตลอดจนไม้ดอก ไม้ประดับ
ประโยชน์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา
เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราที่มีคุณสมบัติและศักยภาพสูงในการใช้ควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช ตรงตาม
หลักการ และแนวคิดของการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชโดยชีววิธี ทั้งนี้เพราะเชื้อราชนิดนี้สามารถเจริญ
อย่างรวดเร็ว สร้างสปอร์ปริมาณสูงมาก โดยอาศัยอาหารจากเศษอินทรีย์วัตถุ ช่วยให้สามารถแข่งขันกับ
เชื้อโรคพืช หรือจุลินทรีย์ที่มีอยู่รอบข้างได้ดี
กลไกการทำงานของเชื้อราไตรโคเดอร์มา
1.เชื้อราไตรโคเดอร์มาลดกิจกรรมของเชื้อราสาเหตุโรคพืช ได้อย่างไร
เชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิดสามารถเจริญได้โดยอาศัยอาหาร ทั้งจากพืชอาศัย โดยตรงในขณะที่
กำลังเข้าทำลายพืชอยู่ หรืออาศัยวัสดุอินทรีย์จำพวกเศษซากพืชที่กำลังย่อยสลาย ตัวอย่าง เช่น เชื้อ
ราพิเทียม เชื้อราไฟทอฟธอรา เชื้อราไรซ็อคโทเนีย และ เชื้อราสเคลอโรเทียม เอกสารประกอบการฝึก
อบรม ของโครงการการผลิตเชื้อราปฏิปักษ์ไตรโคเดอร์มาเพื่อใช้ทดแทนสารเคมีในการควบคุมโรคของ
พืชในระบบ GAP และเกษตรอินทรีย์ส่วนเชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราที่ไม่ทำให้พืชเกิดโรคจึงไม่สามารถใช้อาหารจากพืชปกติได้แต่จะอาศัยอาหารจากอินทรีย์วัตถุและเศษซากพืชในดินแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เชื้อราไตรโคเดอร์
มามีผลกระทบต่อกิจกรรมของเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้ในช่วงระยะที่เชื้อโรคอาศัยอาหารจากอินทรีย์วัตถุ
เพื่อการเจริญและสร้างส่วนขยายพันธุ์ให้มีปริมาณมาก เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถลดกิจกรรมของเชื้อ
ราสาเหตุโรคพืชดังกล่าว โดยการพันรัดเส้นใย แล้วปลดปล่อยเอนไซม์ออกมาหลายชนิด เช่น ไคติเนส
เซลลูเลส กลูคาเนส เพื่อสลายผนังเส้นใยของเชื้อโรคก่อนที่จะแทงส่วนของเส้นใยเข้าไปภายในเส้นใย
ของเชื้อโรค เชื้อราไตรโคเดอร์มาเจริญอย่างรวดเร็วโดยใช้อาหารจากภายในเส้นใยของเชื้อโรค
กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญของเส้นใยเชื้อโรคจะลดลงอย่างมาก ส่งผลให้กิจกรรมเกี่ยวกับ
การสืบพันธุ์ลดลงไปด้วย
นอกจากนี้ในกรณีที่เชื้อโรคกำลังเข้าทำลายรากพืช หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช เช่น บริเวณแผล
หรือรอยตัด เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะทำหน้าที่ขัดขวางกิจกรรมการเข้าทำลายของเชื้อโรคบริเวณดัง
กล่าวได้ โดยการแข่งขันการใช้อาหาร และรบกวนการพัฒนาของเชื้อโรคพืช ทุกระยะเป็นเหตุให้
การงอกของสปอร์ การเจริญและพัฒนาของเส้นใยการขยายพันธุ์และสืบพันธุ์ของเชื้อโรคพืชลดลง
ผลจากการรบกวนและขัดขวางกิจกรรมต่างๆ ของเชื้อโรค จะส่งผลให้ความรุนแรงของการเกิดโรคพืชลด
ลงได้ในที่สุด
2.เชื้อราไตรโคเดอร์มาลดปริมาณเชื้อราสาเหตุโรคพืช ได้อย่างไร
เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถขัดขวางกิจกรรมต่างๆ ของเชื้อโรคพืชจะทำให้ความ รุนแรงของการเกิดโรค
ลดน้อยลง ส่งผลให้ปริมาณเชื้อราสาเหตุโรคพืชลดลงจนอยู่ในระดับที่ไม่สามารถก่อให้เกิดความเสีย
หายรุนแรงกับพืชที่ปลูกได้ เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถเข้าทำลายส่วนที่เป็นโครงสร้างของเชื้อสาเหตุ
โรคพืชซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อการสืบพันธุ์หรือเพื่อความอยู่รอดภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ เช่น
กรณีของเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่เข้าทำลายเม็ดสเคลอโรเทียมซึ่งเป็นส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราสเคลอโร
เทียม รอล์ฟสิไอ (ราเมล็ดผักกาด) ทำให้เม็ดสเคลอโรเทียมฝ่อตายไปก่อนที่จะมีโอกาสงอกเป็นเส้น
ใยเพื่อเข้าทำลายพืช แสดงให้เห็นว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มามีบทบาทในการทำลายเชื้อโรคพืชขณะที่อยู่
ในระยะพักตัวได้ ส่งผลให้ปริมาณของเชื้อโรคพืชลดลงอย่างต่อเนื่อง
3.เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพิ่มการเจริญเติบโตของพืช ได้อย่างไร
นอกจากเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะช่วยป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อโรคพืชหลายชนิดแล้ว ยังพบว่าโตร
โคเดอร์มาสามารถเพิ่มการเจริญเติบโต การสร้างดอกและผลผลิตของพืชต่างๆเช่นไม้ดอกไม้ประดับ
ที่ปลูกในกระถาง พืชผักต่างๆ กล้าไม้ผลที่เพาะด้วยเมล็ด ตลอดจนกิ่งปักชำ และพืชหัว โดยเพิ่มขนาด
และความสูงของต้น น้ำหนักของต้นพืชทั้งต้น น้ำหนักของหัว ตั้งแต่ 10-60% เมื่อเปรียบเทียบกับ
กรณีที่ไม่ได้ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา มีผู้รายงานว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถสร้างสารเร่งการเจริญ
เติบโต (ฮอร์โมน) ต่างๆ ได้เอง ในขณะที่บางกรณีเชื่อว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มาสร้างสารไปกระตุ้นให้
พืชสร้างสารเร่งการเจริญเติบโตมากกว่าปกติ และบางกรณีเชื้อราไตรโคเดอร์มาไปขัดขวางหรือทำลาย
จุลินทรีย์ต่างๆ ที่รบกวนระบบรากของพืช ทำให้ระบบรากพืชสมบูรณ์ และแข็งแรง สามารถดูดซับอาหาร
และแร่ธาตุต่างๆ เชื้อราไตรโคเดอร์มาผลิตสารหลายชนิดที่มีผลในการเพิ่มน้ำหนักสดของต้นและราก
แตงกวา การเพาะเมล็ดที่ปลูกในดินซึ่งปลูกหรือโรยด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา พบว่าเมล็ดจะงอกเร็วกว่า
ปกติ 2-3 วัน และต้นกล้าจะมีขนาดใหญ่โตกว่าปกติ นอกจากนี้พบว่าเปอร์เซ็นต์ความงอกและ
จำนวนต้นรอดตายเพิ่มมากขึ้นด้วย ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และนิวซีแลนด์ มีชีวภัณฑ์ไตรโค
ดูข้อมูลเพิ่มเติมจาก http://www.kasetkawna.com หรือ สอบถามได้ที่ Line id:@kaset
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 10 Feb 23 07:19