ค้นหาสินค้า

ต้นกล้าสะเดา

ร้าน วรากรสมุนไพร
ชื่อสินค้า:

ต้นกล้าสะเดา

รหัส:
246021
ราคา:
60.00 บาท
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 6 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ขายต้นกล้าสะเดา
ร้านวรากรสมุนไพร ID Line varakhonherbs โทร 0821515014 ต้องการมาดูสินค้า พิมพ์ในกูเกิล หาคำว่า วรากรสมุนไพร คลิ๊กเลือกแผนที่ รบกวนโทรนัดหมายล่วงหน้านะคะ
สะเดา ไทยมี 2 ชนิดด้วยกัน คือ สะเดายอดเขียวและสะเดายอดแดง ซึ่ง สะเดา ยอดเขียวจะมีความขมน้อยกว่าหรือบางต้นอาจจะขมน้อยจนได้ชื่อว่า สะเดาหวานหรือ สะเดามัน แต่สะเดายอดแดงจะมีความขมมากกว่า
ส่วนของ สะเดา ที่ชาวบ้านนิยมนำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด คือ ยอดและดอก ซึ่งกำลังออกมากในช่วงนี้ ใช้รับประทานเป็นผักช่วยให้เจริญอาหาร ซึ่งมีคุณค่าทาง โภชนาการ ดังนี้ ยอด สะเดา 100 กรัมให้พลังงานต่อร่างกาย 76 กิโลแคลอรี ประกอบด้วยน้ำ 77.9 กรัม คาร์โบไฮเดรต 12.5 กรัม โปรตีน 5.4 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม มีกาก 2.2 กรัม แคลเซี่ยม 354 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม เหล็ก 4.6 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 3611 ไมโครกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.07 มิลลิกรัม วิตามินซี 194 มิลลิกรัม
สะเดาขึ้นชื่อว่าต้นไม้แห่งยา ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า แค่สะเดาต้นเดียวก็สามารถช่วยบำรุงสุขภาพของเราให้แข็งแรงได้ เห็นได้จากสรรพคุณดังนี้
1. ดีท็อกซ์สารพิษตกค้างในร่างกาย
ใบสะเดาเมื่อนำมาต้มในน้ำร้อน ใช้จิบอย่างน้อยวันละครั้ง ก็จะช่วยให้เลือดสะอาด เป็นการล้างพิษในกระแสเลือด กระตุ้นให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น
2. รักษาโรคผิวหนัง
สารเกดูนิน (Gedunin) และ นิมโบลิดี (Nimbolide) ในใบและเมล็ดสะเดามีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา แบคทีเรียและเชื้อไวรัสสูง ดังนั้น จึงสามารถบรรเทาอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อรา ไวรัส และแบคทีเรียได้ผลอย่างชะงัดนัก ไม่ว่าจะเป็นเชื้อราตามเท้า เล็บมือ เล็บเท้า กลาก-เกลื้อน หิด เริม แผลจากโรคสะเก็ดเงิน (เชื้อแบคทีเรีย) หัด ลมพิษ ผดผื่นคัน หูด และอีสุกอีใส
3. แก้ไข้มาเลเรีย
สารเคมีกลุ่มลิโมนอยด์ (Limonoids) ได้แก่ สารเกดูนิ
และ นิมโบลิดี ในใบและเมล็ดสะเดา สามารถยับยั้งเชื้อฟัลซิปารัม (P.Falciparum) ซึ่งเป็นเชื้อไข้มาลาเรียดื้อยาชนิดหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. โรคไขข้อ
ขอบใบสะเดา เมล็ดสะเดา และเปลือกต้น เป็นส่วนที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรคไขข้อได้ โดยช่วยลดอาการปวด และบวมในข้อ ซึ่งอาจนำมาสกัดเป็นน้ำมันใช้ทาในบริเวณที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และอาการปวดหลังช่วงล่าง หรือนำใบมาต้มเป็นน้ำดื่มเพื่อรักษาอาการของโรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ โรคกระดูกพรุน
5. ช่วยย่อยอาหาร
ใบสะเดา สามารถนำมาทำเป็นเมนูเรียกน้ำย่อยได้ เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำดี ที่จะมีผลให้กระเพาะย่อยอาหารได้ดีขึ้น อีกทั้งน้ำดีที่ถูกกระตุ้นสร้างออกมานั้นจะช่วยย่อยอาหารประเภทไขมันได้ดีขึ้นด้วย
6. บำรุงสุขภาพช่องปาก
ตามตำราอายุรเวทแล้ว สะเดาเป็นพืชที่มีคุณสมบัติบำรุงเหงือกและฟัน จึงนิยมนำมาสกัดเป็นส่วนผสมในยาสีฟันทั่วไป จึงช่วยรักษาโรครำมะนาด โรคเลือดออกตามไรฟัน โรคเหงือก และลดอาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก
7. ลดความเสี่ยงการเกิดเนื้องอกและมะเร็ง
มีผลวิจัยบางชิ้นเผยว่า สารพอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharides) และสารลิโมนอยด์ (Limonoids) ที่พบในเปลือก ใบ และผลสะเดา มีคุณสมบัติช่วยลดความเสี่ยงการเกิดเนื้องอก และมะเร็ง โดยไม่ก่อผลข้างเคียงใด ๆ
8. คุมกำเนิด
ตามตำราแพทย์อารยุรเวทบันทึกไว้ว่ามีการใช้น้ำมันสะเดาเพื่อคุมกำเนิดในผู้หญิงและผู้ชาย โดยลักษณะวิธีใช้จะต่างกัน สำหรับผู้หญิงนั้นจะใช้น้ำมันสะเดาชุบสำลีทาบริเวณปากในช่องคลอดเพื่อชะลอการปฏิสนธิกับไข่ โดยจะฆ่าเชื้ออสุจิให้ตายภายใน 30 วินาที ส่วนผู้ชายจะใช้ฉีดน้ำมันสะเดาบริเวณท่อนำอสุจิ เพื่อยับยั้งการปล่อยอสุจิที่จะออกฤทธิ์นานประมาณ 4 ชั่วโมง
9. บำรุงข้อต่อ
สะเดาช่วยบำรุงกระดูกและข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกายเรา และยังช่วยบรรเทาอาการจากโรคไฟโบรไมอัลเจีย(Fibromyalgia) หรือโรคในกลุ่มอาการปวดเรื้อรังอีกด้วย
10. เบาหวาน
สะเดามีรสขมสามารถรักษาโรคเบาหวานได้ โดยจะยับยั้งการผลิตอินซูลินได้กว่าร้อยละ 50 และยังช่วยปรับสมดุลความอยากอาหารได้อีกด้วย
11. กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันโรค
สะเดามีฤทธิ์ดีท็อกซ์สารพิษในกระแสเลือด ทำให้มีปริมาณเลือดดีหมุนเวียนในร่างกายมากขึ้น ลดการติดเชื้อในร่างกาย ต้านโรคหวัดได้ดี
12. ต้านมะเร็ง
สารพอลิแซ็กคาไรด์ และสารลิโมนอยด์ที่พบมากในผล ใบ และเปลือกของต้นสะเดา มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อร้าย ที่อาจพัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็งในเวลาต่อมา
13. ลดการติดเชื้อในช่องคลอด
น้ำมันสะเดา สามารถช่วยลดการติดเชื้อราในช่องคลอดได้ แต่อาจมีผลข้างเคียงคือ หากใช้เป็นเวลานาน จะมีโอกาสตั้งท้องยากขึ้น
14. บำรุงหัวใจ
ผลของต้นสะเดา หากนำมาต้ม ใช้จิบอย่างน้อยวันละครั้ง มีคุณสมบัติช่วยขยายหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดเป็นปกติขึ้น ปรับสมดุลจังหวะการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ หัวใจจึงแข็งแรงขึ้น
สะเดานอกจากจะมีสรรพคุณทางยาช่วยป้องกันและรักษาโรคแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านอื่น ๆ อีกด้วย ดังนี้
1. ลดสิว น้ำมันสะเดาสกัดเย็นบริสุทธิ์ สามารถนำมาบำรุงผิวพรรณได้ เช่น รอยแดง ผื่นคัน สิว รอยสิว และรอยแผลเป็นจากสิว
2. รักษารังแคและอาการคันหนังศีรษะ ใช้น้ำต้มใบสะเดาล้างหลังสระผมแล้ว จะช่วยรักษารังแค กำจัดแบคทีเรียบนหนังศีรษะ แก้อาการคัน หนังศีรษะแห้งเป็นขุยได้
3. ยับยั้งเชื้อปรสิตเชื้อรา และไล่แมลงตัวเล็ก สะเดามีคุณสมบัติยับยั้งเชื้อรา และยังเป็นสารฆ่าแมลงธรรมดาอีกด้วย จึงสามารถลดโรคเรื้อน และเห็บหมัด ในสัตว์เลี้ยง รวมถึงกำจัดเห็บ หมัด เหา โลน มด ไร และยุงได้
4. ชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย สะเดามีคุณสมบัติเป็นสารแอนตี้ออกซิเดนท์ ที่จะช่วยฟื้นฟู และชะลอความเสื่อมต่าง ๆ ของเซลล์จากการถูกทำร้ายของสารอนุมูลอิสระ
5. ลดการอักเสบของแผล ใบสะเดามีฤทธิ์เย็น ช่วยถอนพิษจากแมลงกัดต่อย ด้วยคุณสมบัติต้านเลือดแข็งตัว ต่อต้านการอักเสบ จึงช่วยลดการติดเชื้อในบาดแผล แผลอักเสบแผลพุพอง แผลสด และแผลเปื่อย
สะเดาเป็นผักใบฤดูหนาว และเป็นสมุนไพรที่คนโบราณนิยมนำมากินเป็นผักเครื่องเคียงกับเมนูต่าง ๆ เช่น ปลาดุกย่าง ปลาทูทอด และกุ้งเผา เพราะการกินคู่กับอาหารอย่างอื่นจะช่วยลดความขมของสะเดา ที่สำคัญคือ เราจะได้ประโยชน์เน้น ๆ จากใบสะเดาอีกด้วย เพราะในใบสะเดานั้นมีสาร พอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) และสารลิโมนอยด์ (Limonoids) ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอกหรือเนื้อร้าย และยังมีสารเบต้าแคโรทีนที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งอีกด้วย
การนำสะเดามาใช้เป็นสารฆ่าแมลงและปราบศัตรูพืชนั้นจะใช้ส่วนของใบ และเมล็ดของสะเดามาสกัดกับแอลกอฮอล์และน้ำ เพื่อให้ได้สารสกัดที่เรียกว่า สารอะซาไดแรคติน (Azadirachtin) ซึ่งเป็นสารที่ปลอดภัยต่อมนุษย์ และมีคุณสมบัติไล่แมลง ทำให้แมลงไม่ชอบกินอาหาร ยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง ทำให้หนอนไม่ลอกคราบหนอนตายในระยะลอกคราบ ลักษณะการออกฤทธิ์จะมีผลต่อการสร้างฮอร์โมนของแมลงทำให้มีการผลิตไข่และการฟักไข่ลดน้อยลง สำหรับกากที่เหลือจากการสกัดน้ำมัน จะเรียกว่า นีม เค้ก (Neem cake) สามารถใช้เป็นประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่น ผสมกับกากนํ้าตาลใช้เป็นอาหารสัตว์ ทำเป็นปุ๋ยยูเรีย และใช้เป็นสารฆ่าแมลงสารฆ่าโรคพืช หรือไส้เดือนฝอยบางชนิด
นอกจากนี้แล้ว กรมวิชาการเกษตรยังได้แนะนำวิธีทำสูตรน้ำมันสะเดาไล่แมลงอีกด้วย ดังนี้
1. นำเมล็ดสะเดาแห้งที่มีทั้งเปลือกหุ้มเมล็ดและเนื้อเมล็ด มาบดให้ละเอียด
2. นำผงเมล็ดสะเดาที่บดได้มาหมักกับน้ำในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร จากนั้นใส่ไว้ถุงผ้าขาวบาง นำไปแช่ในน้ำนาน 24 ชั่วโมง
3. ควรใช้มือบีบถุงตรงส่วนของผงสะเดา เพื่อสารอะซาไดแรคตินที่อยู่ในผงสะเดากระจายตัวออกมาให้มากที่สุด เพื่อที่เวลานำไปฉีดแล้วสารจะจับกับใบพืชได้ดีขึ้น
4. ก่อนนำน้ำหมักที่ได้ไปฉีดพืช ควรนำมาละลายกับน้ำก่อน โดยใช้น้ำหมัก 3 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำ 5 ลิตร ฉีดพ่นราดทุก ๆ 3 วัน หรือเว้นช่วงประมาณ 5-7 วัน หรือฉีดพ่นทุกวันจนกว่าการระบาดของแมลงจะลดลง
ข้อแนะนำคือ ควรฉีดพ่นในเวลาเย็นจะเห็นผลดีกว่า และควรใช้สลับกับสารฆ่าแมลงเป็นครั้งคราว แต่ในกรณีที่แมลงระบาดอย่างรุนแรง ก็ควรใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นแทนดีกว่า จะช่วยลดความเสียหายได้รวดเร็วกว่า แก้ไขข้อมูลเมื่อ 21 Jun 16 02:35