ค้นหาสินค้า

กำแพงเจ็ดชั้น

ร้าน ร้านสมุนไพร ธรรมชาติ
ชื่อสินค้า:

กำแพงเจ็ดชั้น

รหัส:
240726
ราคา:
ไม่ระบุ
ติดต่อ:
คุณวิน วิน
ที่อยู่ร้าน:
อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 8 ปี 11 เดือน
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
โทรศัพท์
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
1. ลำต้นกำแพงเจ็ดชั้น สรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต ด้วยการใช้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 1-2 ช้อนชา ช่วงเช้าและเย็น หรืออีกสูตรให้ใช้ผสมเข้ากับเครื่องยารากชะมวง รากตูมกาขาว และรากปอก่อน (ลำต้น) หรือจะใช้รากนำมาต้มหรือดองเป็นสุราไว้ดื่มก็ได้เช่นกัน (ราก)[1]
2. ช่วยบำรุงกำลัง (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[6]
3. ช่วยฟอกโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษทำให้ร้อน แก้โลหิตจาง ด้วยการใช้ต้นผสมเข้ายากับเปลือกต้นมะดูก (ต้น) หรือจะใช้รากนำมาต้มหรือดองสุราดื่ม ก็มีสรระคุณช่วยดับพิษร้อนของโลหิตเช่นกัน (ราก)[1],[2]
4. เถากำแพงเจ็ดชั้น สรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ (เถา)[4],[5]
5. ราก ใช้ต้มหรือดองกับสุราดื่มมีสรรพคุณช่วยบำรุงน้ำเหลือง (ราก)[1],[5]
6. ช่วยแก้อาการผอมแห้งแรงน้อย (ใช้ต้นผสมกับเปลือกต้นมะดูก)[1]
7. ช่วยแก้เบาหวาน ด้วยการใช้ลำต้นผสมเข้ากับเครื่องยาแก่นสัก รากทองพันชั่ง หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้ หัวร้อยรู และหญ้าชันกาดทั้งต้น (ต้น) ส่วนในกัมพูชาจะใช้เถาของต้นกำแพงเจ็ดชั้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคเบาหวาน (เถา)[1]
8. รากกำแพงเจ็ดชั้น มีรสเมาเบื่อฝาดใช้ต้มหรือดองกับสุราดื่ม สรรพคุณช่วยแก้ลมอัมพฤกษ์ (ราก)[1]
9. รากกำแพงเจ็ดชั้น สรรพคุณทางยาช่วยรักษาโรคตา (ราก)[1]
10. สรรพคุณกําแพงเจ็ดชั้น ต้นและเถาสรรพคุณช่วยแก้ไข้ (ต้น,เถา)[5]
11. ช่วยแก้ประดง (ใช้ต้นผสมกับเปลือกต้นมะดูก)[1], (เถา)[5]
12. ช่วยแก้หืด ด้วยการใช้ลำต้นผสมเข้ากับเครื่องยาแก่นพลับพลา แก่นโมกหลวง แก่นจำปา ต้นสบู่ขาว ต้นคำรอก และต้นพลองเหมือด (ต้น)[1]
13. ต้นกำแพงเจ็ดชั้น สรรพคุณช่วยแก้เสมหะ (ต้น)[5]
14. ลำต้นใช้ปรุงเป็นยาระบาย โดยใช้เข้ากับเครื่องยาคอแลน ตากวง ดูกไส พาสาน และยาปะดง (ลำต้น) หรืออีกสูตรให้ใช้ผสมเข้ากับเครื่องยารากชะมวง รากตูมกาขาว และรากปอด่อน (ต้น) หรือจะใช้รากและแก่นกำแพงเจ็ดชั้น นำมาต้มเป็นน้ำดื่มเป็นยาระบายก็ได้เช่นกัน (แก่น,ราก)[1]
15. ช่วยขับผายลม (ใช้ต้นผสมกับเปลือกต้นมะดูก)[1],[2]
16. ดอกกำแพงเจ็ดชั้น สรรพคุณช่วยแก้อาการบิดมูกเลือด (ดอก)[1],[5]
17. ลำต้นใช้ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ โดยใช้เข้ากับเครื่องยา แก่นตากวง แก่นตาไก้ แก่นตาน แก่นดูกไส และแก่นตานกกด (ลำต้น)[1],[5]
18. ช่วยแก้มุตกิด ช่วยฟอกและขับระดูขาว ขับน้ำคาวปลาของสตรี ด้วยการใช้ต้นผสมเข้ายากับเปลือกต้นมะดูก หรือจะใช้ใบหรือรากกำแพงเจ็ดชั้นก็ได้เช่นกัน (ต้น,ใบ,ราก)[1],[2],[5]
19. ในฟิลิปปินส์การใช้รากกำแพงเจ็ดชั้น เข้ากับยาแผนโบราณเพื่อช่วยบำบัดอาการปวดประจำเดือน (ราก)[3]
20. ลำต้นใช้ปรุงเป็นยาแก้ริดสีดวงทวาร โดยใช้เข้ากับเครื่องยา แก่นกระถิน ปูนขาว และว่านงวงช้าง แล้วนำมาต้ม (ลำต้น)[1]
21. ช่วยแก้น้ำดีพิการ (ต้น)[5]
22. เถากำแพงเจ็ดชั้น สรรพคุณช่วยแก้ซางให้ตาเหลือง (เถา)[5]
23. ช่วยรักษาโรคตับอักเสบ (ใช้ต้นผสมกับเปลือกต้นมะดูก)[1]
24. หัวกำแพงเจ็ดชั้น สรรพคุณช่วยรักษาบาดแผลเรื้อรัง (หัว)[5]
25. ช่วยรักษาตะมอยหรือตาเดือน (หัว)[5]
26. ลำต้นใช้ปรุงเป็นยาแก้ปวดเมื่อย โดยใช้เข้ากับเครื่องยา ตากวง ตาไก่ ขมิ้นเกลือ ดูกหิน ตับเจ่า และอ้อยดำ (ให้ใช้เฉพาะลำต้นของทุกต้นนำมาต้มน้ำดื่ม) หรือจะใช้ลำต้นนำมาต้มน้ำดื่ม หรือนำไปดองกับสุราก็ได้เช่นกัน (ต้น)[1]
27. แก่นและราก ใช้ต้มน้ำดื่มเป็นแก้เส้นเอ็นอักเสบ (แก่น,ราก)[1]
28. ช่วยแก้อาการปวดตามข้อ แก้ไขข้อพิการ เข้าข้อ (ใช้ต้นผสมกับเปลือกต้นมะดูก)[1],[2]
29. ในภูมิภาคอินโดจีนใช้เข้ายาพื้นบ้านเพื่อช่วยลดกำหนด หรือความต้องการทางเพศ (ผล)[3]
30. ประโยชน์กำแพงเจ็ดชั้น นอกจากจะใช้เป็นยาสมุนไพรแล้วผลก็สามารถใช้รับประทานได้เช่นกัน (ผล
References
1. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [14 ต.ค. 2013].
2. มูลนิธิสุขภาพไทย. “กำแพงเจ็ดชั้น ไม้ชื่อแปลกช่วยบำรุงโลหิต“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaihof.org. [14 ต.ค. 2013].
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. อ้างอิงใน: หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 7. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [14 ต.ค. 2013].
4. กรมปศุสัตว์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dld.go.th. [14 ต.ค. 2013].
5. เดอะแดนดอทคอม. “Gallery ดอกกำแพงเจ็ดชั้น“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.the-than.com. [14 ต.ค. 2013].
6. ส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “การศึกษาความหลากหลายพรรณพืชสมุนไพร ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ จังหวัดชุมพร“. ชัยรัตน์ รัตนดำรงภิญโญ.
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 06 May 17 02:15