ค้นหาสินค้า

ฝาง ฝางเสน

ร้าน วรากรสมุนไพร
ชื่อสินค้า:

ฝาง ฝางเสน

รหัส:
176707
ราคา:
200.00 บาท /ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 6 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ฝาง ขายต้นฝาง สมุนไพรบำรุงเลือด ตัวแต่งสีของน้ำยาอุทัย ต้นปลูก ความสูง 30-60 ซม. น้ำหนักถุงเพาะ 0.5-1กก/ถุง
ฝาง" หรือ "ฝางเสน"เป็นสมุนไพรอีกตัวหนึ่งที่เรานำมาใช้ประโยชน์ทางยาและทำเครื่องดื่มซึ่งนิยมเอาแก่นฝางมาใช้มีสรรพคุณ บำรุงเลือด แก้ปอดพิการ ขับเสมหะ แก้ร้อนใน ช่วยลดความร้อนในร่างกาย กระหายน้ำ แก้ธาตุพิการ แก้กำเดา มีรสฝาด จึงใช้แก้โรคทางสมานได้ เช่น แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ฆ่าเชื้อโรคบางชนิด แก้โลหิตออกทางทวารหนัก และแก้อาการเลือดออกภายในอวัยวะต่างๆ เช่น เลือดออกในกระเพาะอาหารหรือในลำไส้ หรือคนที่ขาดวิตามินเค มักเลือดไหลหยุดช้า คนที่เส้นเลือดฝอยเปราะแตกง่าย และคนที่มีเลือดกำเดาออกบ่อย ดื่มน้ำฝางจะค่อยๆ ช่วยให้เลือดหยุดไหลได้

สาร Brazilin ซึ่งเป็นสารที่ให้สีแดง (Sappan red) มีรายงานว่ามีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ที่ประเทศฮังการีพบว่าใช้รักษาโรคหัวใจกบที่ถูกสารพิษเป็นผลสำเร็จ รักษาและป้องกันหืดได้ แก้อักเสบได้ และสารนี้แม้จะดื่มเข้าไปมากก็ไม่เกิดการสะสม
ตกค้างในร่างกาย จึงไม่พบว่าเป็นอันตราย
ฝางเสนเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณเยี่ยมอีกอย่างหนึ่งเอาไปผสมผสานกับตัวยาสมุนไพรต่างๆได้มากมายสร้างสรรพคุณให้ยาสมุนไพรอย่างวิเศษสุดเสมอแต่เอกลักษณ์ของฝางเนนก็มีอยู่คือแก่นเนื้อไม้ของฝางเสนจะเป็นสีแดงถ้าแช่น้ำเอาไ้สีแดงจะละลายออกมาจากเนื้อไม้เป็นสีที่สดสวยมากชาวบ้านเอามาผสมเป็นสีผสมอาหารได้ดีเป็นต้นว่าทำขนมให้เป็นสีแดงเป็นสีจากธรรมชาติที่น่าสนใจ
เอาฝางเสนนี้ไปปรุงเป็นน้ำยาอุทัยตามแบบอย่างโบราณได้ดีน้ำยาอุทัยจึงจึงมีสีแดงสดใสของฝางเสน
สรรพคุณทางยาของฝางเสนนี้โดดเด่นมาก็คือ บำรุงเลือดบำรุงกำลัง บำรุงร่างกายได้ดี แก้อาการท้องร่วงท้องเสีย ช่วยทำให้สุขภาพของผู้หญิงดีในระบบของรอบเดือน ไม่มามากบ้างน้อยบ้างมาแล้วก็ไมเสียดท้องน้อยด้วย
ฝาง
ส่วนที่ใช้ทำยา แก่น
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ฝางเสน ฝางส้ม ง้าย ขวาง หนามโค้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Caesalpinia sappan Linn.
ชื่อวงศ์ Leguminosae
ลักษณะทางพฤษศาสตร์
เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้เถา ลำต้นมีหนามโค้งสั้น ๆ และแข็งทั่วไป ผลัดใบ ในธรรมชาติอาจพบที่เป็นเถาขนาดใหญ่ ใบ เป็นช่อแบบขนนก 2 ชั้น เรียงสลับกัน แต่ละช่อ ประกอบด้วยใบย่อยขอบขนานแคบ ๆ ติดตรงข้ามกันเป็นคู่ ปลายใบมนและหยักเว้าตรงกึ่งกลางเล็กน้อย ผิวใบเกลี้ยง ทั้ง 2 ด้าน ขอบใบเรียบ ดอก สีเหลือง ออกรวมกันเป็นช่อไม่แยกแขนงตามปลายกิ่ง และง่ามใบใกล้ ๆ ปลายกิ่ง กลีบรองดอกมี 5 กลีบ ขอบกลีบเกยซ้อนทับกัน กลีบล่างสุดโค้งงอและขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่น กลีบดอก มี 5 กลีบ รูปไข่กลับ ผิวและขอบกลีบย่น เกสรผู้ 10 อัน แยกเป็นอิสระ ผล เป็นฝักแบนแข็ง ส่วนที่ค่อนมาทางโคนฝักจะสอบเอียงเล็กน้อยด้านปลายฝักจะผายกว้าง ปลายฝักจะตัดเป็นลักษณะคล้ายจงอยแหลม อยู่ทางมุมด้านนอก แต่ละฝักมีเมล็ดรูปรี ๆ 2-4 เมล็ด
ขึ้นเป็นกลุ่มตามป่าเต็งรัง และเขาหินปูนที่แห้งแล้ง นิยมปลูกเป็นแนวรั้วบ้านตามชนบท เนื้อไม้แข็ง ตกแต่งชักเงาได้ดี แก่นและเนื้อไม้ให้สีแดง รากให้สีเหลือง ใช้ย้อมผ้าและไหม และใช้เป็นสีใส่อาหารและเครื่องดื่ม เนื้อไม้เป็นยาขับระดูอย่างแรง
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
เนื้อไม้สีเหลืองส้ม แก่นมีสีแดง ถูกอากาศนานเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เสี้ยนตรง เนื้อแข็งละเอียด แก่นที่มีสีแดงเข้ม รสขมหวาน เรียกว่าฝางเสน อีกชนิด แก่นสีเหลืองอมส้ม รสฝาดขื่น ขม เรียกว่าฝางส้ม
การขยายพันธุ์และการผลิตกล้า เพาะเมล็ดหรือกิ่งปักชำ
ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก ขึ้นได้ทุกสภาพดินที่มีการระบายน้ำดี ต้องการแสงมาก
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย: แก่นต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิต แก้ปอดพิการ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ยาฝาดสมาน แก้ท้องร่วง ธาตุพิการ แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ขับเสมหะ แก้ไอ ขับระดู เป็นยาบำรุงโลหิตสตรี แก้กำเดา ทำโลหิตให้เย็น แก้โลหิตออกทางทวารหนักและเบา แก้คุดทะราด แก่นฝนกับน้ำเป็นยาทาภายนอกในโรคผิวหนังบางชนิด ฆ่าเชื้อโรค ขับหนอง น้ำต้มแก่นใช้แต่งสีแดงของน้ำยาอุทัย
ตำราพระโอสถพระนารายณ์: ระบุว่ายาแก้ความผิดปกติของอาโปธาตุหรือธาตุน้ำ ประกอบด้วยเครื่องยาสองสิ่งคือ เปลือกมะขามป้อมและฝางเสน ปริมาณเท่ากัน ต้มน้ำกิน 4 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน กินแก้ท้องเสียอย่างแรงและบิด
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
1.แก้ท้องร่วง ตำรายาไทยใช้แก่นฝางหนัก 3-9 กรัม ต้มกับน้ำ 500 มิลลิลิตร เคี่ยวให้เหลือครึ่งหนึ่ง ดื่มแก้ท้องร่วง
2.แก้น้ำกัดเท้า แก่นฝาง 2 ชิ้น ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้นๆ ทาบริเวณน้ำกัดเท้าช่วยฆ่าเชื้อ สมานแผล
องค์ประกอบทางเคมี:
สารให้สีชมพูอมส้มถึงแดง (sappan red)คือ brazilin และพบ tannin
ฝางต้นไม้มากคุณค่า
ฝางเป็นยาเย็น ทำน้ำฝางดื่มในหน้าร้อน ดีกว่าดื่มน้ำอัดลมหรือน้ำชาเขียวอีก น้ำฝางทำไม่ยากเลย แค่นำเอาเนื้อไม้ฝางที่ตากจนแห้งแล้วมาต้มกับน้ำ ก็ดื่มได้เลยไม่มีรสกลิ่นหอมเล็กน้อย หรือจะปรุงรสเพิ่มกลิ่นเติมน้ำตาลนิดหน่อย ใส่ใบเตยเล็กน้อย แค่นี้ก็จะได้น้ำฝางสีแดงสวยงามมากด้วยคุณค่า
ฝาง (ฝางเสน, ฝางส้ม, ง้าย, หนามโค้ว, ขวาง, โซบั้ก) หรือ Sappan Tree มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Caesalpinia sappan Linn. จัดเป็นพืชในวงศ์ Leguminosae ส่วนที่ใช้เป็นยาคือ เนื้อไม้และแก่น
แก่นฝาง (Sappan wood) มีสารสีชมพูส้มถึงแดง (ขึ้นกับปริมาณ) ชื่อ Brazilin แก่นฝางมีรสขื่นขม ฝาด ใช้ต้มน้ำกินเป็นยาบำรุงโลหิตสตรี แก้ปอดพิการ ขับหนอง ขับเสมหะ ทำโลหิตให้เย็น แก้โรคหืด แพทย์ชนบทใช้ต้มน้ำกินแก้อาการท้องร่วง ธาตุพิการ ร้อนใน แก้โลหิตออกทางทวารหนักและทวารเบา
เนื้อไม้ใช้แก้ท้องเสีย แก้บิด ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้ไข้ รักษาโรคทั่วไป
นอกจากนี้ส่วนเปลือก ลำต้นและเนื้อไม้สามารถใช้ต้มรับประทานรักษาวัณโรค ท้องเสียและอาการอักเสบในลำไส้ เป็นยาฝาดสมานและรักษาแผล
จากข้อมูลรายงานการทดลองต่างๆ ที่มีอยู่ไม่พบข้อมูลการยับยั้งเชือ้ MRSA ของฝาง ทราบแต่เพียงว่าสาร Brazilin ในแก่นฝางที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น เมื่อผ่านการต้ม สาร Brazilin จะเปลี่ยนเป็นสาร Brazilein ซึ่งมีสีแดงซึ่งสมัยก่อนใช้ในการย้อมผ้า แต่งสีขนมและทำน้ำยาอุทัย
คุณสมบัติทางยาของเนื้อไม้และเปลือกไม้ฝางเกิดจากกลุ่มของสาร phenol ที่มีชื่อเรียกว่า homoisoflavonoids ลำต้นและใบมีสาร alkaloid และ phytosterol อยู่ในปริมาณมาก
ปัจจุบันมีรายงานการทดลองของสารทั้ง Brazilin และ Brazilein ดังนี้
- แก้อักเสบ: สาร Brazilin ที่สกัดได้จากแก่นฝางมีฤทธิ์ระงับการอักเสบได้ดี การที่ฝางเสนมีสารระงับการอักเสบนี้อยู่จึงทำให้มีผลระงับอาการหอบหืดได้ด้วย
- ระงับเชื้อโรค: การนำพืชที่มีสาร Brazilin (รวมทั้งฝางเสน) มาแช่ในแอลกอฮอล์จะทำให้ได้น้ำยาสกัดแอลกอฮอล์ที่มีสาร Brazilin ละลายอยู่ น้ำยานี้สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดไข้สูง โรคท้องร่วงระบาด เชื้อStaphylococcus ได้ นอกจากนี้ในแก่นฝางยังพบว่ามีสารอีกชนิดหนึ่งที่ระงับเชื้อโรคได้เช่นกันคือสาร Sappanin
- แก้ท้องเสีย: แก่นและเปลือกฝางเสนมีสาร Tannin อยู่มากโดยเฉพาะส่วนเปลือกฝางจึงใช้ต้มกินแก้ท้องเสียหรือบิดอย่างอ่อนได้
- ป้องกันหืด: สาร Brazilein สามารถยับยั้งไม่ให้ร่างกายสร้างสารHistamine ได้ จึงน่าจะช่วยป้องกันโรคหืดได้
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของฝางนอกจากต้านเชื้อแบคทีเรียแล้ว ยังสามารถต้านเชื้อรา ไวรัส ยีสต์ ลดการอักเสบ ยับยั้งเนื้องอก กระตุ้นภูมิคุ้มกันและยั้บยั้งการแพ้ได้ด้วย
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 23 Feb 22 06:59
คำสำคัญ: ฝาง ต้นสมุนไพร