ค้นหาสินค้า

อัคคีทวาร

ร้าน วรากรสมุนไพร
อัคคีทวาร
อัคคีทวาร
ชื่อสินค้า:

อัคคีทวาร

รหัส:
176083
ราคา:
200.00 บาท /ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 6 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
อัคคีทวาร ต้นปลูก ความสูง 30-60 ซม. น้ำหนักถุงเพาะ 0.5-1กก/ถุง
อัคคีทวาร
ชื่ออื่น ชะรักป่า พายสะเมา อัคคีทวาร แข้งม้า แคว้งค่า มักแค้งข่า ฮังตอ หูแวง หมักก้านต่อ ผ้าห้ายห่อคำ หลัวสามเกียน หมอกนางต๊ะ คุ้ยโดโจ ยาแก้ ควิโด ตือซือซาฉ้อง เตอสีพะดู่
อัคคีทวารมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clerodendrum serratum Moon. อยู่ในวงศ์ VERBENACEAE โดยอัคคีทวารจัดเป็นไม้พุ่ม ใบเรียว ปลายใบมนแหลม ขอบใบเป็นดอกออกเป็นช่อสีขาวสวยงามมาก จึงสามารถปลูกเป็นไม้ประดับได้ ถ้าหากไม่คิดถึงชื่อที่ไม่ค่อยเป็นมงคลเท่าไรนัก นอกจากนี้อัคคีทวารยังสามารถนำส่วนต่างๆมาปรุงเป็นยาสมุนไพรได้
อัคคีทวารเป็นสมุนไพรที่ปรากฏในตำราอายุรเวท ซึ่งประมาณว่ามนุษย์รู้จักใช้สมุนไพรชนิดนี้ มีมาราวสามพันปีแล้ว อัคคีทวารเรียกชื่อเป็นภาษาสันสกฤตว่า “ ภรางคิ (Bharangi)” ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Clerodendrum serratum (Linn.) อยู่ในวงศ์ Verbenacea สำหรับหมอยาพื้นบ้านอีสานก็รู้จักอัคคีทวารเป็นอย่างดีเช่นกัน คนแถวๆ จังหวัดสกลนคร เรียกว่า หมากดูกแฮ้ง ส่วนหมอยาพื้นบ้านแถบวาริชภูมิเรียกว่า “ พายสะเมา ” สมุนไพรชนิดนี้ขึ้นอยู่ตามโคกทั่วๆไปในพื้นดินที่ราบสูงของไทย ซึ่งคนอีสานจะนำช่อดอกมาหมกไฟหรือย่างกินกับซุบหน่อไม้ หรือไม่ก็ปรุงเป็นหมกหน่อไม้ แกงหน่อไม้ ทำสุกแล้วยังมีรสชาติเหมือนกินสดๆ แต่ถ้าไปแอ่วเหนือเดินชมงานพืชสวนโลกไม่แน่ใจว่าจะมีหรือไม่ (เพราะยังไม่ได้ไปชม) ถ้าพบขอให้รู้ไวว่าคนเหนือเรียกว่า หลัวสามเกียน
ถ้าใครอยากนำต้นนี้มาปลูก ก็รู้ไว้สักนิดว่าอัคคีทวารไม้พุ่มยืนต้น ขนาดเล็กสูง 2- 3 เมตร เปลือกลำต้น บางผิวเรียบ สีน้ำตาลเข้ม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกจากลำต้นตรงข้ามกันเป็นคู่แบบสลับ ใบเรียงรูปใบหอกกว้าง 4- 6 เซนติเมตร ยาว 15- 20 เซนติเมตร ใบมีสีเขียวสดขอบใบหยักฟันเลื่อยด้วยลักษณะและความสวยงามของดอก ซึ่งนับได้ว่าอัคคีทวารเป็นสมุนไพรที่สามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับได้อย่างดี และมีสรรพคุณทางยาอย่างดีด้วย
อัคคีทวารเป็นสมุนไพรเก่าแก่ที่หมอยาทุกภาครู้จัก ใช้เป็นยาได้ทั้งรากและใบ ส่วนของ ราก มีรสขมเผ็ดร้อน นำมาใช้เป็นยาเพื่อรักษาสุขภาพของเราได้หลายระบบในร่างกาย คือ ระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ โดยมีสรรพคุณช่วยย่อยอาหาร ขับลม รักษาอาการเบื่ออาหาร แก้ปวดเกร็งในท้อง แก้คลื่นไส้อาเจียน ริดสีดวงทวาร และการที่รากอัคคีทวารมีรสขมร้อน ทำให้อัคคีทวารมีสรรพคุณ ช่วยทำให้เสมหะแห้ง จึงช่วย ระบบทางเดินหายใจ ได้ดีด้วย เช่น แก้หอบหืด ไอ ริดสีดวงจมูก(อาการอักเสบเรื้อรังของโพรงจมูก) แพ้อากาศทั้งยังใช้ในการแก้ไข้ได้อีกด้วย
การใช้รากเป็นยาจะใช้ทั้งการต้มกินหรือบดเป็นผง นอกจากนี้ยังใช้รากสดตำผสมกับขิงและลูกผักชีละลายน้ำรับประทานแก้คลื่นเหียนอาเจียน รากแห้งหรือลำต้นแห้งนิยมฝนกับน้ำปูนใสให้ข้นๆเป็นยาเกลื้อนฝี หัวริดสีดวง ทางแผลบวมได้ดีอีกด้วย
ส่วน ใบ ของอัคคีทวารมีฤทธิ์แก้อักเสบ รักษาริดสีดวงทวาร รักษาโรคผิวหนัง วิธีใช้ เคี้ยวใบสดๆรับประทานเลย หรือนำใบของอัคคีทวารตากแห้ง บดเป็นผงรับประทานแก้ริดสีดวงทวาร
ก็ได้ และอาจใช้วิธีนำใบตากแห้งรมหัวริดสีดวงทวารให้ยุบฝ่อหายได้ หรือสุมไฟรมแผลฝีก็ได้เช่นกัน และยังนำใบอัคคีทวารใช้ภายนอกรักษาโรคอื่นๆ เช่น ตำพอกรักษาโรคผิวหนังพวกกลากเกลื้อน ดูดหนอง ใช้ตำพอกแก้ปวดขัดตามข้อ แก้ปวดหัวเรื้อรัง
ใบ ของอัคคีทวารยังมีสรรพคุณแก้จุกเสียดในท้องเช่นเดียวกับราก จึงนิยมใช้ต้มกินแก้ท้องอืดได้และยังใช้ใบสดโขลกเอาน้ำกินสำหรับแม่ที่คลอดลูกแล้ว เพื่อให้มดลูกเข้าอู่ดีขึ้นและแก้อักเสบ
ด้วย ใบของอัคคีทวารยังนิยมต้มกับขิงกินแก้หลอดลมอักเสบ นอกจากนี้ส่วน ลำต้น ของอัคคีทวาร
นอกจากจะมีสรรพคุณคล้ายๆ ใบแล้ว ส่วนของเนื้อไม้มีสรรพคุณในการขับปัสสาวะ ชาวบ้านจึงนิยมฝานลำต้นเป็นชิ้นบางๆ ตากแห้งต้มรับประทานขับปัสสาวะขับนิ่ว ลดความดัน แก้ปวดท้อง แก้ไข้ป่า
ส่วน ผลสุกหรือดิบ นำมาเคี้ยวค่อยๆกลืนน้ำช่วยแก้คอเจ็บแก้ไออัคคีทวารยังใช้ได้ดีกับสัตว์เลี้ยงเช่น โค กระบือที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ก็นำอัคคีทวารกรอกให้สัตว์กิน เห็นได้ว่าอัคคีทวารมีประโยชน์ทางยามากมาย แต่ที่นิยมใช้มากที่สุดคือการใช้เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร ปัจจุบันมีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของอัคคีทวารพบว่าอัคคีทวารมีฤทธิ์ต้านการแพ้ ต้านฮิสตามีน ต้านการบีบตัวของลำไส้ ลดความดันโลหิต ฆ่าเชื้อโรค ขับลม
ข้อมูลจาก : มูลนิธิสุขภาพไทย
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 03 Oct 20 01:59