ค้นหาสินค้า

ต้นยางนา

ร้าน ลพบุรีไม้ล้อม/บ่อแก้วพันธุ์ไม้
ต้นยางนา
ต้นยางนา
ชื่อสินค้า:

ต้นยางนา

รหัส:
166383
ราคา:
ไม่ระบุ
ติดต่อ:
คุณปฐมสิต วงศ์ชวลิต (แชมป์)
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 12 ปี 2 เดือน
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
โทรศัพท์
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ยางนา
Dipterocarpus alatus Roxb. ระบบการตั้งชื่อ(Nomenclature)ชื่อพื้นเมือง(Common name)ยาง ยางขาว ยางแดง ยางหยวก ยางแม่น้ำ ( ทั่วไป) กาตีล( เขมร- กบินทร์บุรี ปราจีนบุรี) ขะยาง( ชาวบน- นครราชสีมา) เคาะ( กะเหรี่ยง) จะเตียล( เขมร- ศรีสะเกษ) จ้อง( กะเหรี่ยง) ชันนา( หลังสวน- ชุมพร) ทองหลัก( ละว้า- กาญจนบุรี) ยางกุง( เลย) ยางควาย( หนองคาย) ยางใต้( กบินทร์บุรี ปราจีนบุรี) ยางเนิน( จันทบุรี) เยียง( เขมร- สุรินทร์) ร่าลอย( ส่วย- สุรินทร์) ลอยด์( โซ้- นครพนม) เหง( ลื้อ) ลำต้น (Stem) ยางนาเป็นไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ ใบแก่จะร่วงหลุดไปใน ขณะเดียวกับที่มีการแตกใบใหม่มาทดแทน ลำต้นเปลา ตรง เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูง ประมาณ 30 –40 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่ม กลมหนา ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน และมีรอยแผลใบเห็นชัดเปลือก (Bark) เรียบหนา สีเทาปนขาว โคนมักเป็นพูพอนชื่อพ้อง(Synonyms)ชื่อวงศ์(Family) DIPTEROCARPACEAEชื่อการค้า(Trade name) Yang , Gurjan or Garjanการกระจายพันธ์ตามธรรมชาติ(Distribution and habitat) ชอบขึ้นเป็นกลุ่มตามที่ราบริมลำธาร ในป่าดิบทั่วไป ที่มีดินลึกและอุดมสมบูรณ์ มีความชื้นสูง ในระดับสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 200- 600 เมตร โดยปกติจะพบไม้ยางนาในป่าดิบแล้ง ในประเทศไทยจะพบไม้ยางนาขึ้นอยู่ทุภาคทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ ลักษณะทางด้านพฤกษศาสตร์(Botanical description)ใบ (Leaf) เป็นใบเดี่ยว(simple leaf) ติดเรียงเวียน สลับ (spirate) ทรงใบรูปไข่แกมรูปขอบขนาน(elliptical – oblong) ขนาดกว้าง 8 – 15 ซ. ม. ยาว 20 –35 ซ. ม. โคนใบ มนกว้างๆ ปลายใบสอบทู่ๆ เนื้อใบหนา ใบอ่อนมีขนสีเทา ปกคลุม ใบแก่จะผิวเกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง เส้นแขนงใบ ตรงและขนานกัน มี 14 – 17 คู่ เส้นใบย่อยแบบเส้นขั้น บันได เห็นชัดทางด้านท้องใบ ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น เล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 4 ซ. ม. มีขนบ้างประปราย ดอก (Flower) เป็นแบบดอกช่อ (inflorescence flower) แบบ panicle สีชมพู ออกเป็นช่อเดี่ยวสั้นๆ ตามง่ามใบตอนปลายๆกิ่ง การเกิดช่อดอกจะเกิดพร้อมกันกับการแตกใบอ่อน ช่อหนึ่งมีหลายดอก โดยโคนกลีบฐานเชื่อมกันเป็นรูปถ้วยและมีครีบตามยาว 5 ครีบ ปลายถ้วยแยกเป็น5 แฉก ยาว 2 แฉกและสั้น 3 แฉก มีขนสั้นๆสีน้ำตาลปกคลุมทั่วไป กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบชิดติดกัน ส่วนปลายกลีบจะบิด เวียนกันในทิศตามเข็มนาฬิกา เกสรผู้มีประมาณ 29 อัน รังไข่รูปรีๆภายในแบ่งเป็น 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 2 หน่วยผล (Fruit) เป็นผลเดี่ยว (simple fruit) ชนิดผล แห้ง (dry fruit) ที่แก่แล้วไม่แตก(indehiscent fruit) แบบ samara รูปร่างกลม เป็นครีบตามยาว 5 ครีบ มีปีกยาว 2 ปีก ยาว 10 – 12 ซ. ม. เส้นปีกตามยาวมี 3 เส้น ปีกสั้น รูปหูหนู 3 ปีก มีเมล็ดเดียว เมล็ด (Seed) มีรูปร่างกลมรีปลาย
ด้านหนึ่งแหลมอีกปลายด้านหนึ่ง
ป้าน ขนาดยาวประมาณ 1 ซ.ม กว้างประมาณ 0.5 ซ.ม. ลักษณะทางกายวิภาค(Wood anatomy) พอร์ เป็นแบบ พอร์เดี่ยว(solitary pore) เกือบทั้งหมด แบบของ
การเรียงตัวไม่เด่นชัด การกระจายเป็นแบบกระจัด กระจาย
( diffuse porous) พอร์ใหญ่มาก เส้นเรย์เห็นชัด มี ท่อยางเรียง
ต่อกัน 3 – 4 ท่อ อยู่ใกล้ ๆ พอร์ สีน้ำตาลปนแดงหรือสีแดงเรื่อๆหรือสีน้ำตาลหม่น เสี้ยนมักตรง เนื้อหยาบ แข็งปานกลาง ใช้ในร่มทนทาน ลักษณะเนื้อไม้(Wood description)คุณสมบัติของเนื้อไม้(Wood properties) สกายสมบัติ(Physical properties) กลสมบัติ(Mechanical properties) เคมีสมบัติ(Chemical properties) ความหนาแน่น (Density) 695 กก./ ลบ. ม.
การยืดหดตัวทางด้านรัศมี (Radial section) 3.97 %
การยืดหดตัวทางด้านสัมผัส (Tangential section) 10.15 %
การยืดหดตัวทางด้านยาวตามเสี้ยน(Longitudinal section)
( ไม่มีข้อมูล) %
การผึ่งและอบไม้ ( ไม่มีข้อมูล) ความแข็ง (Hardness) 471 ก. ก.
ความแข็งแรง (Strength) 888 ก. ก./ ตร. ซ. ม.
ความดื้อ (Stiffness) 90,200 ก. ก./ ตร. ซ. ม.
ความเหนียว (Toughness) 2.14 ก. ก.- ม.
ความทนทานตามธรรมชาติ (Durability) ตั้งแต่ 1-10 ปี เฉลี่ยประมาณ 4.3 ปี
การอาบน้ำยาไม้ (Wood-preservation) อาบน้ำยาได้ง่าย ( ชั้นที่ 2)
ชั้นความแข็งแรง (Strength group) B
ชั้นคุณภาพไม้ (Grade timber) B แก้ไขข้อมูลเมื่อ 19 Jul 14 09:07
คำสำคัญ: ยางนา