ค้นหาสินค้า

หอม

ขายหอมราคาถูก มีให้เลือกหลายร้าน

หัวหอม

หอมหัวใหญ่ เปลือกเหลือง  sweet yellow spanish onions
หอมหัวใหญ่ เปลือกเหลือง sweet yellow spanish onions บางใหญ่ นนทบุรี

ราคา 35.00 บาท

จังหวัดที่ขายหัวหอม

เชียงใหม่ (1 ร้าน)

นนทบุรี (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด หัวหอม ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของเตยหอม (3682)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Pandanus amaryllifolius Roxb.
ชื่อวงศ์:  PANDANACEAE
ชื่อสามัญ:  Pandanus
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้พุ่มขนาดเล็ก  เจริญเติบโตลักษณะเป็นกอ  มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ผิวดิน ลำต้นติดดิน ออกรากตามข้อของลำต้นได้เมื่อลำต้นยาวมากขึ้นใช้เป็นรากค้ำยัน
    ใบ  เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ
    ดอก  เป็นดอกช่อแบบ สแปดิก(spadix) ดอกย่อยแยกเพศและแยกต้น ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก
    ฝัก/ผล  ผลขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ไม่เกิดดอกและผล เป็นเตยเพศผู้
การปลูก:  ตามริมคูน้ำบริเวณที่น้ำขังแฉะ หรือที่ดินชื้น
การดูแลรักษา:  ชอบแสงแดดรำไร แต่ก็ทนต่อแสงแดดจัด
การขยายพันธุ์:  ปักชำลำต้น  หรือกิ่งแขนง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ใบ
การใช้ประโยชน์:
     -    ไม้ประดับ
     -    สมุนไพร
     -    ใช้เป็นภาชนะห่อและใส่เพื่อปรุงกลิ่น อาหาร คาวหวาน  และยังเป็นพันธุ์ที่ชาวสวนปลูกตัดใบออกจำหน่ายเป็นการค้า
ถิ่นกำเนิด:  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สรรพคุณทางยา:
     -    ใช้ใบเตยสดเป็นยาบำรุงหัวใจ ให้ชุ่มชื่นช่วยลดอาการกระหายน้ำ
     -    รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้รักษาเบาหวาน


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของกล้วยหอมทอง (3867)

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Musa (AAA group) "Kluai Hom thong"
ชื่อวงศ์:    MUSACEAE
ชื่อสามัญ:    Gros Michel
ชื่อพื้นเมือง:    กล้วยหอม
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    ลำต้นสูง 2.5 - 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 20 เซนติเมตร กาบลำต้นด้นนอกมีประดำ ด้นในสีเขียวอ่อน และมีเส้นลายสีชมพู
    ใบ    ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้าง และ มีปีก เส้นกลางใบสีเขียว
    ดอก    ก้านเครือมีขน ปลีรูปไข่ ค่อนข้างยาว ปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง มีไข ด้านในสีแดงซีด
    ฝัก/ผล    เครือหนึ่งมี 4 - 6 หวี หวีหนึ่งมี 12 - 16 ผล กว้าง 3 - 4 เซนติเมตร ยาว 21 - 25 เซนติเมตร ปลายผลมีจุก เห็ดชัดเปลือกบาง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง แต่ที่ปลายจุกจะมีสีเขียว แล้วเปลี่ยนสีภายหลัง เนื้อสีเหลืองเข้ม กลิ่นหอม รสหวาน
การขยายพันธุ์:    หน่อ
การดูแลรักษา:  ชอบดินที่มีการระบายน้ำดี และอุดมสมบูรณ์
การใช้ประโยชน์:    ผลใช้รับประทานสด
แหล่งที่พบ:    พบทั่วไป


สายพันธุ์ของกล้วยหอม (3868)

กล้วยหอมทอง จะมีอยู่ 2 สายพันธุ์ด้วยกัน  คือ
   

   
1. กล้วยหอมทองต้นสูง ต้นสูงประมาณ 2-4 เมตร  ลำต้นอบใหญ่    
กาบสีดำเป็นบางส่วน เครือใหญ่ ผลยาว เมื่อสุกมีกลิ่นหอมมาก      
สีผิวของเปลือกเป็นสีเหลือง เปลือกไม่ยุ่ย
   

   
2. กล้วยหอมทองค่อม ต้นสูงประมาณ 1.5-2 เมตร ลำต้นอวบใหญ่ ต้นเตี้ย ผลสั้น เครือเล็กกว่า กลิ่นหอมน้อยกว่าพันธุ์ต้นสูง

การปลูกและดูแลรักษากล้วยหอมทอง (3869)

การปลูก
   

   
การเตรียมดิน :
   
ไถดะ 1 ครั้ง ตากดินแล้วไถพรวน 1-2 ครั้ง ให้ดินร่วนซุย ไม่มีวัชพืช ถ้ามีวัชพืชมากกว่าร้อยละ 20 ต้องไถพรวนใหม่
   

   
การเตรียมหลุมปลูก:
   
- ระยะปลูกระหว่างแถวและต้น 2x2 เมตร
   
- ขนาดหลุมปลูก กว้าง ยาว ลึก 30x30x30 เซนติเมตร
   
- รองก้นหลุมด้วยดินผสมปุ๋ยอินทรีย์ ด้วย 5 กิโลกรัมต่อหลุม
   

   
การเตรียมพันธุ์และการปลูก:
   
- ใช้หน่อพันธุ์ที่สมบูรณ์ ปราศจากศัตรูพืช มีความยาวหน่อ 25-35 เซนติเมตร มีใบแคบ 2-3 ใบ
   
- วางหน่อพันธุ์ที่ก้นหลุม จัดวางให้ด้านที่ติดต้นแม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน    
เพื่อให้มีการออกดอกไปในทิศทางเดียวกัน และสะดวกในการดูแลรักษา
   
- กลบดินและกดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น คลุมดินด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง และรดน้ำให้ชุ่ม
   

   
การดูแลรักษา
   

   
การให้น้ำ:
   
ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดฤดูปลูก เมื่อหน้าดินแห้งต้องให้น้ำ    
(โดยเก็บตัวอย่างดินจากผิวดินลึก15 เซนติเมตร กำเป็นก้อน    
ถ้าแบมือแล้วแตกร่วงควรให้น้ำเพิ่มแก่ต้นกล้วย)
   

   
การให้ปุ๋ย:
   
- ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 และ 2 เมื่อกล้วยหอมอายุ 1 และ 3 เดือน ด้วยสูตร    
20-10-10 หรือ 15-15-15 หรือสูตร ใกล้เคียงอัตรา 125-250    
กรัมต่อต้นต่อครั้ง
   
- ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 และ 4 เมื่ออายุ 5 และ 7 เดือน ด้วยสูตร 13-13-21 หรือสูตรใกล้เคียง อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง
   
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก) ปีละ 1-2 ครั้ง
   

   
การแต่งหน่อ:
   
หลังจากปลูกกล้วยประมาณ 5 เดือน ให้แต่งหน่อ เพื่อให้ต้นแม่มีความสมบูรณ์
   

   
การค้ำยันต้น:
   
ต้องใช้ไม้ค้ำยันหรือดามกล้วยทุกต้น ที่ออกปลีแล้ว เพื่อป้องกันลำต้นหักล้ม และตรวจดูการค้ำยันให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง
   

   
การหุ้มเครือ และตัดใบธง:
   
การหุ้มเครือกระทำหลังจากตัดปลีไม่เกิน 15 วัน เพื่อให้ผิวกล้วยสวย    
และป้องกันแมลงทำลายด้วยถุงพลาสติกสีฟ้า แบบเปิดด้านล่าง โดยหุ้มทั้งเครือ    
และหุ้มทุกเครือ ส่วนการตัดใบธง    
ตัดเมื่อใบธงเริ่มหักก่อนที่จะเสียดสีกับผิวกล้วย


ระยะเวลาในการให้ผลผลิตของกล้วยหอมทอง :
ประมาณ 10 เดือนหลังจากปลูก กล้วยจะเริ่มแทงปลีออกมา การที่กล้วยจะออกปลีช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของหน่อกล้วยว่ามีความ แข็งแรงสมบูรณ์ดีหรือไม่ รวมทั้งการดูแลรักษาเมื่อกล้วยแทงปลีจนสุด(กล้วยหวีตีนเต่าโผล่ – กล้วยตีนเต่าหมายถึงกล้วยหวีสุดท้ายที่มีลักษณะไม่สมบูรณ์ ) ให้ตัดปลีทิ้ง หรือจะตัดปลีหลังจากปลีโผล่มาประมาณ 10-12 วัน ถ้าไม่มีการตัดปลีกล้วยทิ้งผลกล้วยจะเจริญเติบโตไม่เต็มที่

หลังจากตัดปลีประมาณ 90-110 วัน กล้วยจะแก่พอดี สามารถสังเกตได้จากกล้วย หวีสุดท้ายจะเริ่มกลม สีที่ผลจางลงกว่าเดิม(สีเขียวอ่อน) ถ้าปล่อยให้กล้วยแก่คาต้นมากเกินไปจะสบกับปํญหากเรื่องเปลือกกล้วยที่แตก ทำให้ผลผลิตเสียหาย

ในปีที่2และ3 จะเรียกกล้วยที่มีอายุเหล่านี้ว่ากล้วยตอ เมื่อถึงเวลาที่ตัดเครือกล้วยออกแล้ว เกษตรกรจะตัดต้นแม่ออก เพื่อลดความหนาแน่นและการแข่งขันในการหาอาหาร แต่การตัดต้นกล้วยนั้นควรจะตัดให้เหลือตอสูงประมาณ 1.5-2 เมตร เพื่อให้หน่อที่แตกใหม่มีอาหารที่สมบูรณ์และน้ำที่ถูกกักเก็บไว้ในตอกล้วยจะ ช่วยเลี้ยงหน่อที่เหลือให้เจริญต่อไปได้ การเลี้ยงตอนั้นจะเลี้ยงไว้จนตอแห้งแล้วจึงตัดออก

การตัดหน่อกล้วยไว้สำหรับปีต่อไป :
หน่อกล้วยที่สมควรจะคัดไว้เป็นหน่อที่ให้ผลผลิตในปีต่อไป ควรจะคัดหน่อกล้วยที่มีลักษณะ ดังนี้
1. ควรเป็นหน่อใต้ดิน ลำต้นแวบ อยู่ห่างจากโคนต้นแม่ประมาณ 10 นิ้ว ควรเหลือไว้ประมาณ 25 หน่อ ที่อยู่ตรงกันข้าม
2. ถ้าใช้ระยะปลูก 3 x 3 เมตร ควรคัดหน่อกล้วยอีกครั้งหนึ่งจาก 2 หน่อ ให้เหลือเพียงหน่อเดียวหรือเหลือไว้ไม่เกิน 2 หน่อ ซึ่งจะทำให้แปลงกล้วยทึบ ลำต้นจะสูงชะลูดและหักล้มได้ง่าย

ปัญหาและอุปสรรคในการเพาะปลูกกล้วยหอมทอง :
1.กล้วยหอมทองมีลำต้นสูง เครือใหญ่ จึงมีปัญหาในการหักล้มก่อนกล้วยจะแก่ได้ง่าย
2. ต้องสิ้นเปลืองค่าไม้ค้ำ
3. ถ้าปลูกมากเกินไปในท้องถิ่นหนึ่งกล้วยจะล้นตลาด