ค้นหาสินค้า

หมากผู้หมากเมีย

ขายหมากผู้หมากเมีย พันธุ์หมากผู้หมากเมีย สอนการเพาะปลูกและสรรพคุณที่เป็นประโยชน์

ผู้ให้การสนันสนุน

หมากผู้หมากเมีย

ต้นหมากผู้หมากเมีย

หมากผู้หมากเมียแดงสยาม
หมากผู้หมากเมียแดงสยาม ปราจีนบุรี

ราคา 30.00 บาท /ถุง

ต้นหมากผู้หมากเมีย
ต้นหมากผู้หมากเมีย เมืองระยอง ระยอง

ราคา 80.00 บาท /ต้น

ทับทิมสยาม
ทับทิมสยาม เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 45.00 บาท /ถุง

หมากผู้หมากเมีย
หมากผู้หมากเมีย เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 80.00 บาท /ต้น

หมากผู้หมากเมีย
หมากผู้หมากเมีย บ้านฉาง ระยอง

ราคา 99.00 บาท

จังหวัดที่ขายต้นหมากผู้หมากเมีย

ปราจีนบุรี (2 ร้าน)

ระยอง (2 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นหมากผู้หมากเมีย ทั้งหมดในเว็บ

ต้นกล้าหมากผู้หมากเมีย

หมากผู้หมากเมียแดงสยาม
หมากผู้หมากเมียแดงสยาม ปราจีนบุรี

ราคา 30.00 บาท /ถุง

ต้นแดงสยาม
ต้นแดงสยาม องครักษ์ นครนายก

ราคา 70.00 บาท /กอ

จังหวัดที่ขายต้นกล้าหมากผู้หมากเมีย

นครนายก (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นกล้าหมากผู้หมากเมีย ทั้งหมดในเว็บ

ประโยชน์ของต้นหมากผู้หมากเมีย

- ช่อดอก นำมาลวกกินกัยน้ำพริก หรือนำไปแกงได้

- ใบ ช่วยบำรุงร่างกายและผิวพรรณ

- ดอก นำมาบูชาพระ

- นิยมนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับลงกระถางเพื่อประดับภายในอาคาร สวนหย่อม ริมน้ำตก ลำธาร หรือริมทะเล

หมากผู้หมากเมีย

วิธีการขยายพันธุ์ต้นหมากผู้หมากเมีย

- การเพาะเมล็ด โดยจะใช้เมล็ดจากต้นแก่ มาเพาะในถุงหรือในกระถาง วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากต้องใช้เวลานานกว่าหมากผู้หมากเมียจะออกดอก และติดเมล็ดให้เห็น โดยจะออกดอกในต้นที่มีอายุมากกว่า 1 ปี ขึ้นไป

- การตอนกิ่ง โดยโดยใช้ต้นแม่พันธุ์ที่มีกิ่งหรือเหง้าจำนวนมาก ใช้ใบมีดกรีดรอยแผลตามความยาวของกิ่ง ยาว 1-1.5 นิ้ว ลึกถึงเนื้อไม้ 3-5 รอยรอบกิ่ง จากนั้นใช้ขุยมะพร้าวหุ้มกิ่งตอน มัดด้วยเชือกให้แน่น รากหลังการตอนจะงอกประมาณ 3-4 สัปดาห์

- การปักชำ เลือกต้นพันธุ์ที่แข็งแรง โดยเลือกต้นพันธุ์ที่ไม่แก่และอ่อนจนเกินไป ให้สังเกตว่าแม่พันธุ์จะมีกิ่งและเหง้าเป็นจำนวนมาก โดยตัดลำต้นเป็นท่อนยาว ทารอยแผลด้วยปูนแดง หรือสารป้องกันกำจัดเชื้อรา และจุ่มฮอร์โมนเร่งราก ผึ่งให้รอยแผลแห้ง นำไปปักชำในแปลงเพาะชำหรือในกระถางชำ โดยวางกิ่งชำในแนวนอนหรือในแนวตั้ง เมื่อนำกิ่งลงกระถางและกลบดินเรียบร้อยแล้ว ก็ให้นำใบไม้แห้งมาปิดคลุมดิน แล้วนำไปวางในบริเวณที่ร่ม รดน้ำพอชื้น เมื่ออายุครบ 1 เดือน รากจะงอกเต็มที่

- การแยกเหง้า สามารถทำได้โดยการขุดแยกเหง้าที่แตกออกมาจากต้นแม่มาแยกเป็นต้นใหม่ หรือมาแยกปลูกใหม่

หมากผู้หมากเมีย

ลักษณะต้นหมากผู้หมากเมียพันธุ์ "เพชรชมพู"

ลำต้น : เป็นไม้พุ่ม ลำต้นรูปทรงกระบอกยาว แตกเป็นกอ

ใบ : เป็นใบเดี่ยว ใบบนตั้งขึ้น ใบล่างโค้งลู่ลงเล็กน้อย รูปขอบขนาน รูปใบหอก ปลายเรียวแหลม โคนสอบมน ขอบเรียบ ใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ก้านใบเป็นกาบ สีม่วงอมน้ำตาล บริเวณโคนก้านใบห่อหุ้มลำต้น ขอบใบสีม่วงอมน้ำตาลตลอดแนวขอบใบ แผ่นใบสีเขียวปนสีม่วง เส้นกลางใบและเส้นใบ สีม่วงอมน้ำตาล

ดอก : ออกดอกเป็นช่อเชิงลดบริเวณปลายยอด ดอกสีชมพูหรือม่วง

หมากผู้หมากเมีย

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นหมากผู้หมากเมีย

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นหมากผู้หมากเมีย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cordyline fruticosa (L.) A.Chev ชื่อภาษาอังกฤษ : Cabbage palm , Good luck plant , Palmm lily , Red dracaena , Polynesian , Ti plant ชื่ออื่นๆ : มะผู้มะเมีย, หมากผู้ ลำต้นเป็นไม้พุ่ม ลำต้นเดี่ยวรูปทรงกระบอกยาว หรืออาจแตกกอในบางสายพันธุ์ ตามลำต้นมีรอยการติดใบรอบๆ ลำต้น หมากผู้หมากเมียมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น พันธุ์เพชรชมพู เพชรสายรุ้ง เพชรพนมรุ้ง เพชรประกายรุ้ง เพชรเจ็ดสี เพชรดารา เพชรน้ำหนึ่ง เพรชไพลิน เพชรไพลินกลาย เพชรตาแมว เพชรอินทรา เพชรเขื่อนขันธุ์ เพชรไพฑูรย์ เพียงเพชร พุ่มเพชร เปลวสุริยา รัศมีเพชร รุ้งเพชร ชมพูศรี ชมพูพาน สไบทอง ไก่เยาวลักษณ์ พันธุ์แคระ เป็นต้น ใบเป็นใบเดี่ยว ใบรูปยาวรี ปลายใบแหลม ก้านใบยาว ลักษณะของใบและสีของใบก็ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด ช่อดอกยาว ดอกมีสีเหลือง แดง ม่วง (ตามสายพันธุ์) ออกดอกตลอดปี ผลรูปทรงกลมสีแดง ฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปโค้ง สีดำ

หมากผู้หมากเมีย สายพันธุ์ต่างๆ
หมากผู้หมากเมีย สายพันธุ์ต่างๆ
หางหงส์
หางหงส์
หมากผู้หมากเมีย เพชรในเรือน
หมากผู้หมากเมีย เพชรในเรือน
หมากผู้หมากเมีย แดงสยาม
หมากผู้หมากเมีย แดงสยาม

การขยายพันธุ์ต้นหมากผู้หมากเมีย

โดยการปักชำ ,การแยกเหง้า , การตอนกิ่ง และการเพาะเมล็ด

หมากผู้หมากเมียทับทิมสยาม
หมากผู้หมากเมียทับทิมสยาม

การดูแลต้นหมากผู้หมากเมีย

ปลูกง่ายเจริญเติบโตได้ทุกสภาพดิน ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดรำไร เจริญเติบโตเร็ว

หมากผู้หมากเมีย ไม้มงคล
หมากผู้หมากเมีย ไม้มงคล

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นหมากผู้หมากเมีย

แก้ไข้ แก้ตัวร้อน ใช้ขับพิษหัวไข้ แก้หวัด แก้ท้องเสีย แก้บิด

ต้นหมากผู้หมากเมีย
ต้นหมากผู้หมากเมีย

ความเชื่อเกี่ยวกับต้นหมากผู้หมากเมีย

เป็นไม้มงคล บ้านใดปลูกต้นหมากผู้หมากเมียไว้เป็นไม้ประจำบ้านจะทำให้มีความอยู่เย็นเป็นสุข

หมากผู้หมากเมีย ช็อคโกแลต
หมากผู้หมากเมีย ช็อคโกแลต

ประโยชน์ของต้นหมากผู้หมากเมีย

ดอกตูมนำไปลวกทั้งแบบสด กินเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือนำไปใส่แกงแค ดอกนำมาใช้บูชาพระ ใบของหมากผู้หมากเมียใช้ในการประกอบในงานพิธีต่างๆ เช่น ใช้เป็นเครื่องบูชาพระ งานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน เป็นต้น นิยมนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับลงกระถางเพื่อประดับภายในอาคาร หรือจะปลูกไว้ในสวนที่มีแสงปานกลางถึงรำไรเพื่อเป็นจุดเด่นให้กับสวนหย่อม ริมน้ำตก ลำธาร หรือริมทะเล

ใบหมากผู้หมากเมีย
ใบหมากผู้หมากเมีย

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของหมากผู้หมากเมีย (3772)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Cordyline fruticosa
ชื่อวงศ์:  AGAVACEAE
ชื่อสามัญ:  Cordyline, Ti long Plant Tree of Kings
ชื่อพื้นเมือง:  หมากผู้   มะผู้มะเมีย
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลำต้นตั้งตรงมีขนาดเล็กกลม มีข้อถี่ ลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน
    ใบ  ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับแตกออกตามข้อของลำต้นซ้อนกันถี่ ใบรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-10 เซนติเมตร  ยาว 20-50 เซนติเมตร   ปลายใบแหลม  โคนใบแผ่เป็นกาบใบหุ้มลำต้น  ขอบใบเรียบ แผ่นใบเป็นลอนคลื่นเล็กน้อยและมีสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์ เช่นสีเขียวล้วน แดงล้วน เขียวแถบเหลือง หรือเขียวแถบแดง
    ดอก  สีขาวอมเหลืองหรือม่วงแดง ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงจากส่วนยอดของลำต้น  ช่อละ 5-10 ดอก ดอกย่อยมีขนาดเล็ก มีกลีบเลี้ยง และกลีบดอกอย่างละ 6 กลีบ ดอกมีขนาดยาวประมาณ 1 ซม.
    ฝัก/ผล  ผลสดแบบมีเนื้อ ทรงกลม มีขนาดประมาณ 8 มิลลิเมตร ผลสุกสีแดง มีหลายเมล็ด
    เมล็ด  มีเมล็ดอยู่ 1 - 3 เม็ด
การปลูก:  ปลูกลงกระถาง และปลูกในสวน
การดูแลรักษา:  ขึ้นได้ในดินทั่วไป ความชื้นปานกลาง ชอบแสงแดดปานกลางถึงรำไร
การขยายพันธุ์:  การปักชำ
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
    -    ไม้ใบ
สรรพคุณทางยา:  
    -    ใบ  เป็นยาแก้บิด ถ่ายเป็นมูกเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด ไอเจ็บกระเพาะอาหาร ไอเป็นเลือด พอกหรือทา บริเวณที่เป็นบาดแผล
    -    ดอก  เป็นยาแก้วัณโรคปอด ไอ เป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด แ ละเป็นริดสีดวงทวาร ใช้พอก ห้ามเลือด แก้บวมอักเสบ
    -    ราก/หัว  ยาแก้บิด ลำไส้อักเสบ แก้ท้องเสีย และแก้ประจะเดือนมาไม่เป็นปกติ



หมากผู้หมากเมียเป็นไม้มงคล (3909)

คนไทยเราเชื่อกันมาแต่โบราณว่า การปลูกหมากผู้หมากเมียไว้นั้นจะโชคเรื่องความรักและคู่ครอง ชีวิตรักจะราบรื่นคิดรักใครจะสุขสมหวัง และมีแต่คนรักและนับถือ ครอบครัวจะผาสุกไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน นอกจากนี้ยังนำหมากผู้หมากเมียไปใช้ในงานมงคล ทั้งงานแต่ง งานหมั้น งานบวช ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น

เพื่อให้มีฤทธิ์มงคล ควรปลูกหมากผู้หมากเมียในวันอังคารและควรปลูกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอาณาเขตบ้าน