ค้นหาสินค้า

มะลิ

ขายต้นมะลิ ดอกมะลิราคาถูก การปลูก วิธีดูแล และการขยายพันธุ์มะลิ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ลักษณะและสรรพคุณ

ต้นมะลิ

ต้นมะลิซ้อน
ต้นมะลิซ้อน คลองสามวา กรุงเทพมหานคร

ราคา 250.00 บาท /1ต้น

ต้นมะลิลา
ต้นมะลิลา บางใหญ่ นนทบุรี

ราคา 20.00 บาท /กระถาง6“

(1ต้น) ต้น ดอก มะลิ
(1ต้น) ต้น ดอก มะลิ เมืองมหาสารคาม มหาสารคาม

ราคา 199.00 บาท /ต้น

มะลิกระถาง
มะลิกระถาง องครักษ์ นครนายก

ราคา 20.00 บาท /ต้น

 มะลิซ้อน
มะลิซ้อน เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 80.00 บาท /ต้น

มะลิซ้อน
มะลิซ้อน เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 80.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายต้นมะลิ

กรุงเทพมหานคร (1 ร้าน)

นครนายก (1 ร้าน)

นนทบุรี (1 ร้าน)

ปราจีนบุรี (2 ร้าน)

มหาสารคาม (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นมะลิ ทั้งหมดในเว็บ

ต้นกล้ามะลิ

มะลิ
มะลิ องครักษ์ นครนายก

ราคา 20.00 บาท /ต้น

(2ต้น) ต้น มะลิซ้อน หรือ มะลิหลวง
(2ต้น) ต้น มะลิซ้อน หรือ มะลิหลวง เมืองมหาสารคาม มหาสารคาม

ราคา 249.00 บาท /ต้น

มะลิร้อยมาลัยไหว้พระ ต้นละ 35 บาท 3 ต้น 100 ค่ะ
มะลิร้อยมาลัยไหว้พระ ต้นละ 35 บาท 3 ต้น 100 ค่ะ กันทรวิชัย มหาสารคาม

ราคา 35.00 บาท

จังหวัดที่ขายต้นกล้ามะลิ

นครนายก (1 ร้าน)

มหาสารคาม (2 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นกล้ามะลิ ทั้งหมดในเว็บ

ข้าวมะลิโกเมนสุรินทร์ และ มะลินิลสุรินทร์ ข้าวทางเลือกใหม่ของคนรักสุขภาพ (3923)

มะลิโกเมนสุรินทร์ และมะลินิลสุรินทร์ เกิดจากความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว คณะเทคโนโลยี และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นข้าวเจ้าหอมต่างสี ซึ่งได้จากการคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์ข้าวเจ้าต่างสี พันธุ์พื้นเมืองไวต่อช่วงแสง 3 พันธุ์ คือ มะลิแดง เบอร์ 54 มะลิพื้นเมือง (ข้าวแดง) และมะลิดำ เบอร์ 53 จากแปลงแสดงพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ในปี พ.ศ. 2548 จนได้พันธุ์บริสุทธิ์ จำนวน 12 สายพันธุ์ ได้แก่ กลุ่มที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง จำนวน 5 พันธุ์ คือ มะลิโกเมนสุรินทร์ 1-5 และกลุ่มที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำ จำนวน 7 พันธุ์ คือ มะลินิลสุรินทร์ 1-7    


   
ข้าวมะลิโกเมนสุรินทร์ และมะลินิลสุรินทร์ สามารถสนองต่อการเรียกหาของคนรักสุขภาพ เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง อีกทั้งยังมีข้อดีทางด้านคุณภาพทางกายภาพ ทางเคมี และคุณภาพการหุงต้มรับประทานดี คือ เป็นข้าวเมล็ดเรียวยาว เปอร์เซ็นต์อะมิโลสต่ำ ข้าวสุกเหนียวนุ่ม และมีกลิ่นหอม จากการตรวจวิเคราะห์ในเมล็ดพบว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูง ประกอบด้วย สารประกอบฟีโนลิก และแอนโทไซยานิน ที่มีผลทำให้ผิวหนังของเราไม่เหี่ยวแห้งเร็วก่อนวัยอันควร แถมยังช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็งและยังออกฤทธิ์ในการขยายเส้นเลือด ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ เส้นเลือดอุดตันในสมองและโรคอัมพาตอีกด้วย    


   
นอกจากนั้น ข้าวกลุ่มนี้ยังเหมาะสำหรับใช้ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ เพราะมีการใช้ปัจจัยการผลิตต่ำ จึงเป็นทางเลือกสำหรับชาวนาที่ทำนาแบบอินทรีย์ ผลผลิตภายใต้สภาพการปลูกแบบอินทรีย์ จะอยู่ที่ 224-458 กิโลกรัม/ไร่ ความสูง 158-185 เซนติเมตร ออกดอกระหว่าง วันที่ 20-29 ตุลาคม    


   
"มะลิโกเมนสุรินทร์ และมะลินิลสุรินทร์ ตอบสนองต่อปุ๋ยค่อนข้างต่ำ ผลผลิตจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับการบำรุงดิน ไม่ว่าจะได้ผลผลิต 270 300 หรือ 400 กิโลกรัม/ไร่ มันก็กำไรอยู่แล้ว เพราะต้นทุนต่ำ"    


   
คุณรณชัย บอกกล่าวถึงคุณสมบัติของข้าวมะลิโกเมนสุรินทร์ และมะลินิลสุรินทร์ ที่ได้จากการทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ข้าวสายพันธุ์ดังกล่าวมีความต้องการปุ๋ยเคมีน้อย แต่ปัจจัยของผลผลิตของข้าวสายพันธุ์นี้ ขึ้นอยู่กับแร่ธาตุและอาหารในดิน ดังนั้น การดูแลรักษาและบำรุงดิน จึงจัดว่าเป็นหัวใจสำคัญของการทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งไม่ว่าผลผลิตจะออกมาเท่าไหร่ ผู้ที่ทำนาแบบเกษตรอินทรีย์นั้น ก็มีกำไรเสมอ เนื่องจากมีต้นทุนในการผลิตข้าวที่ต่ำ    


   
ที่มา:  หนังสือเทคโนโลยีชาวบ้าน

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของมะลิ (3633)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Jusminum adenophyllum
ชื่อวงศ์:  OLEACEAE
ชื่อสามัญ:
ชื่อพื้นเมือง:  มะลิลา, มะลิหลวง, มะลิซ้อน
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นไม้พุ่ม ไม้เลื้อย และไม้รอเลื้อย แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบๆ ลำต้นสูงประมาณ 5 ฟุต
    ใบ  มีทั้งใบเดี่ยวและใบรวม การจัดเรียงตัวของใบมีทั้งแบบใบอยู่ตรงกันข้าม ใบแบบสลับกัน
    ดอก  มีสีขาว กลีบดอกมีชั้นเดียวและหลายชั้น เป็นดอกเดี่ยวและดอกช่อดอกจะออกจากยอดหรือข้างกิ่งส่วนมากมีกลีบเลี้ยง 4-9 กลีบ กลีบดอกมี 4-9 กลีบ
ฤดูกาลออกดอก:  ออกดอกตลอดปี
การดูแลรักษา:  เป็นไม้ที่ชอบแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง ปลูกในดินร่วนซุย
การขยายพันธุ์:  การปักชำ หรือตอน
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    ร้อยเป็นพวงมาลัย
    -    ดอกไม้ปห้ง
    -    น้ำมันหอมระเหย
    -    สมุนไพร
สรรพคุณทางยา:
    -    ดอก   มีสรรพคุณแก้อาการท้องร่วง ตาแดง
    -    ราก    เป็นยาแก้ปวด ทำให้ชา ฟันผุ ฟกช้ำ นอนไม่หลับ


มะลิืเป็นไม้มงคล (3634)

ความมงคล:
 
มะลิ เป็นไม้ที่ให้ดอกหอมกรุ่นจรุงใจ ไม่ว่าคุณจะปลูกมะลิชนิดใดพันธุ์ใด (มะลิวัลย์-มะลิซ้อน ฯลฯ ) ก็ถือว่า เป็นไม้มงคลที่ให้คุณในทางเสิรมดวงเสริมโชคชะตา ได้เป็นอย่างดีทั้งสิ้น เชื่อกันว่า บ้านที่ปลูกต้นมะลิ จะมีความสุขสงบ และค่อนข้างตั้งอยู่ในศีลในธรรมอันดี มะลิให้มลคล ในทางความรัก ความเสน่หา เป็นที่ประทับใจแก่ผู้คนรอบข้าง และยังเกื้อหนุนให้เกิดความกตัญญู ของผู้เป็นลูกที่ดีต่อแม่อีกด้วย

ตำแหน่งที่ปลูก: 
การปลูกมะลิไว้ในบริเวณบ้าน ควรจะให้คุณแม่ หรือผู้อาวุโสที่สุดในบ้านที่เป็นเพศหญิง เป็นผู้ลงมือปลูก แต่ถ้าคุณหาซื้อแบบกระถางมา ก็ควรทำเคล็ดมงคล โดยให้คุณแม่หรือคุณย่า-คุณยาย ช่วยรดน้ำ พรวนดิน และใส่ปุ๋ย เป็นการเอาฤกษ์มงคล ควรปลูกหรือซื้อเข้าบ้านมาในวันพุธ จึงจะถูกโฉลกและเกิดมงคลดี ทิศมงคลของต้นมะลิ ก็คือ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ คุณจึงควรปลูกไว้ยังทิศนั้น หรือตั้งกระถางไว้ ณ ทิศนั้นจึงจะดียิ่ง


มะลิมีกี่สายพันธุ์ (3635)

1. มะลิลา เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดียวออกเป็นคู่ตรงกันข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ขอบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน ดอกสีขาว มะลิชนิดนี้ จะใช้ในการเด็ดดอกขาย
2. มะลิลาซ้อน ลักษณะต้น ใบ อื่น ๆ คล้ายมะลิลา แต่ใบใหญ่กว่าดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก และดอกกลางบานก่อน เช่นกัน แต่มีดอกซ้อน 3-4 ชั้น ปลายกลีบมน
3. มะลิถอด ลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป ทั้งต้น ใบ การจัดเรียงของใบ รูปแบบของใบคล้ายมะลิลาซ้อน แต่ใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อมี 3 ดอก ดอกซ้อนมากชั้นกว่า คือ 3-6 ชั้น ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมมาก ขนาดดอก 2.5-3.5 ซม.
4. มะลิซ้อน ลักษณะทั่ว ๆ ไปคล้ายมะลิถอด และมะลิลาซ้อน แต่ใบมีลักษณะแคบกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอกเช่นกัน กลีบดอกซ้อน แต่ซ้อนกว่า 5 ชั้น แต่ละชั้นมีกลีบดอก 10 กลีบ ขึ้นไป ขนาดดอก 3-4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอมมาก
5. มะลิพิกุล หรือมะลิฉัตร ลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับ 4 ชนิดแรก ใบคล้ายมะลิซ้อนและมีคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นช่อ 3 ดอก ดอกซ้อนเป็นชั้น ๆ เห็นได้ชัด (คล้ายฉัตร) และดอกมีขนาดเล็กพอ ๆ กับดอกพิกุล ขนาดดอก 1-1.4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอม
6. มะลิทะเล เป็นไม้รอเลื้อย ดอกเป็นกระจุก ๆ หนึ่ง มี 5-6 ดอก กลิ่นหอมฉุน
7. มะลิพวง ลำต้นเป็นไม้พุ่ม กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขนเห็นเด่นชัดเช่นกัน ใบและรูปแบบตลอดจนการจัดเรียง คล้ายมะลิอื่น ๆ แต่ใบมีขนเห็นเด่นชัด ดอกออกเป็นช่อแน่น สีขาวกลีบดอกชั้นเดียว กลีบเล็กยาว ปลายแหลม ขนาดดอก 3-4.5 ซม. มีกลิ่นหอมมาก
8. มะลิเลื้อย ลำต้นเลื้อยไปตามพื้นดินยาวประมาณ 1 ฟุต ใบเล็กกว่าพันธุ์อื่นมาก
9. มะลิวัลย์หรือมะลิป่า เป็นไม้เถาเลื้อย พาดต้นไม้อื่นหรือขึ้นร้าน ใบเล็กกว่าและยาวกว่ามะลิอื่น ๆ กลีบดอกเล็กยาว สีขาว กลิ่นหอมเย็นชืด
10. พุทธิชาติ เป็นไม้รอเลื้อย ใบเป็นใบเดี่ยวแต่ใบด้านล่างลดขนาดลงมากจนมีลักษณะคล้ายหูใบ ดอกเป็นช่อ ออกที่ปลายกิ่ง และข้างกิ่ง ดอกสีขาว ปลายกลีบมน ก้านดอกยาว
11. ปันหยี ต้นเป็นไม้เลื้อยเช่นเดียวกับมะลิวัลย์ ใบเดี่ยว การออกของใบเช่นเดียวกันแต่ใบมีขนาดใหญ่กว่า ใบเป็นมันสีเขียวเข้ม หนาและแข็ง ดอกเป็นดอกช่อ สีขาวกลีบดอกใหย่กว่ามะลิวัลย์ กลีบดอกกว้างและมน ดอกชั้นเดียว ขนาดดอก 4-4.5 ซม. กลิ่นไม่หอม
12. เครือไส้ไก่ เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเดี่ยว ปลายใบแหลม สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อดอกกลางบานก่อน กลีบดอกขาว ชั้นเดียวปลายกลีบแหลม
13. อ้อยแสนสวย เป็นไม้เลื้อย กิ่งอ่อนสีม่วงแดง ไม่มีขน กิ่งแก่สีน้ำตาล ใบเดี่ยว ขนาดใหญ่ก้านใบสีม่วง ดอกออกเป็นช่อมี 8 ดอก ดอกกลางบานก่อน ก้านดอกยาว กลีบดอกขาว ชั้นเดียวปลายกลีบมน
14. มะลิเขี้ยวงู (มะลิก้านยาว) เป็นไม้เลื้อย แตกกิ่งก้านมาก ไม่มีขน ใบออกเป็นช่อคล้ายใบแก้ว แต่บางกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอก ก้านดอกเป็นหลอดสีแดงอมม่วง กลีบดอกขาว กลิ่นหอมจัด นอกจากนี้ยังมีมะลิอื่น ๆ อีกเช่น มะลิฝรั่ง, มะลิเถื่อน ฯลฯ แต่มะลิที่นิยมปลูกเป็นการค้าในปัจจุบัน ได้แก่ มะลิลา มีชื่อวิทยาศาสตร์ Jasminum sambac และที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเรื่องของมะลิลา

มะลิลาพันธุ์ที่ส่งเสริมและนิยมปลูกมี 3 พันธุ์คือ
1. พันธุ์แม่กลอง ทรงต้นพุ่มต้นใหญ่ หนาและ ทึบเจริญเติบโตเร็ว ใบใหญ่หนา สีเขียวเข้ม จนดูออกดำ รูปใบ ค่อนข้างกลม ปลาย ใบมน  ช่วงข้อใบห่าง ดอกใหญ่ กลม ช่อดอกมักมี 1 ชุด ๆ ละ 3 ดอก ผลผลิตดอกไม่ดก
2. พันธุ์ราษฎร์บูรณะ ทรงต้นพุ่มเล็กกว่า ค่อนข้างทึบ ใบเล็กบางกว่า สีเขียวเข้มรูปใบเรียวกว่า ช่วงข้อใบ ค่อนข้างถี่ ดอกเล็กเรียวแหลม ช่อดอกมักมี 1-2 ชุด ๆ ละ 3 ดอก ผลผลิตดอกดกทะยอยให้ดอก
3. พันธุ์ชุมพร ทรงต้นคล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะแต่ดู โปร่งกว่าเล็กน้อย ใบคล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะ แต่เรียวว่า สีอ่อนกว่าและ บางกว่า ช่วงข้อใบถี่ ดอกคล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะ ช่อดอกมักมีมากกว่า 2 ชุด ๆ ละ 3 ดอก ผลผลิตดอกดกมากแต่ทิ้งระยะห่าง เรื่อย ๆ เป็นช่วง ๆ


ปลูกต้นมะลิต้องมีเทคนิค (3654)

วิธีปลูก สำหรับการปลูกเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ควรใช้กระถางทรงสูง ขนาด 8-14 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก และ ดินร่วน อัตราส่วน 1: 1 :1 แนะควรเปลี่ยนกระถางปีละครั้ง ส่วนการปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน โบราณนิยมปลูกบริเวณทางเข้าหน้าบ้าน เพื่อเป็นเสน่ห์แก่บ้าน

ส่วนการดูแลรักษา  ต้นมะลิต้องการแสงแดดจัด ฉะนั้นควรวางไว้กลางแจ้ง รดน้ำ 3-5วัน/ครั้ง เพิ่มอัตราการเจริญเติบโตด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 5-6 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15อัตรา 200-300 กรัม / ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้ง

เอื้อเฟื้อข้อมูล โดย www.dailynews.co.th