ค้นหาสินค้า

มะนาวเทศ

มะนาวเทศ

มะนาวเทศต้นละ 340บาท
มะนาวเทศต้นละ 340บาท บางพลี สมุทรปราการ

ราคา 340.00 บาท /ต้น?

มะนาวเทศ
มะนาวเทศ นากลาง หนองบัวลำภู

ราคา 100.00 บาท

มะนาวเทศ
มะนาวเทศ องครักษ์ นครนายก

ราคา 50.00 บาท /ต้น

มะนาวเทศ
มะนาวเทศ สันทราย เชียงใหม่

มะนาวเทศ
มะนาวเทศ บางใหญ่ นนทบุรี

เลม่อนไร้เมล็ด
เลม่อนไร้เมล็ด เมืองเลย เลย

ราคา 50.00 บาท

จังหวัดที่ขายมะนาวเทศ

เชียงใหม่ (1 ร้าน)

นครนายก (1 ร้าน)

นนทบุรี (1 ร้าน)

เลย (1 ร้าน)

สมุทรปราการ (1 ร้าน)

หนองบัวลำภู (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด มะนาวเทศ ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะของจำปาเทศ (3544)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Pterospermum littorale Craib.
ชื่อวงศ์:  STERCULIACEAE
ชื่อพื้นเมือง:  กะหนาย หำอาว (หนองคาย) ขนาน(ชลบุรี
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นไม้ขนาดกลาง สูง 10 -  20  เมตร เปลือกลำต้นสีเทาแตกเป็นร่องเป็นสะเก็ดบิดเวียนตามยาวโคนลำต้นมักเป็นปุ่มเป็นโพรง  แตกกิ่งจำนวนมาก กิ่งอ่อนยาว ปลายกิ่งห้อยลู่ กิ่งอ่อนมีขนสีขาวหรือเหลืองอ่อนบางๆ กิ่งแก่เกลี้ยง
    ใบ  ใบเดี่ยว เรียงระนาบเดียวกัน มี 2 รูป ใบอ่อนรูปไข่กว้างหรือเกือบเป็นแผ่นกลม กว้าง 14-18 ซม. ยาว 14-16 ซม. แผ่นใบเว้าเป็นแฉกลึก 5-7 แฉก แฉกรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ปลายแฉกแหลม ขอบเรียบหรือเว้าตื้นๆ ห่างๆ ไม่เป็นระเบียบ โคนรูปก้นปิด เส้นใบออกจากโคนใบประมาณ 7 เส้น แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้ม เกลี้ยง ด้านล่างมีขนสีเทาอมเหลืองหนาแน่น ก้านใบติดห่างจากโคนใบมาก ยาว 4-7 ซม. มีขนเป็นแฉกรูปดาวหนาแน่น หูใบแคบ ยาวประมาณ 1 ซม. มีขนทั่วไป ใบแก่รูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-13 ซม. ปลายแหลมยาว โคนมนกว้าง หรือโคนใบตัดและเว้าเล็กน้อยตรงก้านใบที่ติดเหลื่อมห่างจากโคนใบเล็กน้อย ขอบเรียบแต่มักเว้าตื้นๆ ห่างๆ ไม่เป็นระเบียบ มีเส้นใบออกจากโคนใบ 3-5 เส้น และเส้นแขนงใบข้างละ 6-8 เส้น ปลายเส้นโค้งขึ้นเลียบขอบใบ ก้านใบยาว 0.7-1 ซม. แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง สีเขียวเข้ม ด้านล่างมีขนสีเทาอมเหลืองหรือสีนวลหนาแน่น
    ดอก  เป็นสีขาว ออกเดี่ยวๆ ตามซอกใบบริเวณใกล้ปลายยอด ก้านดอกยาว 0.5-1 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ แยกกัน รูปขอบขนาน สีเขียวอมน้ำตาล กว้างประมาณ 7 มม. ยาว 7-8 ซม. ด้านนอกมีขนนุ่มเป็นมันสีน้ำตาลอมเหลือง ด้านในมีขนนุ่มเช่นกันแต่สีจางกว่า กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว แยกกัน กว้างประมาณ 1.7 ซม. ยาวประมาณ 6.5 ซม. โคนกลีบเรียว กลีบด้านนอกมีขนเป็นแฉกรูปดาวประปราย ด้านในเกลี้ยง เกสรเพศผู้สมบูรณ์มีประมาณ 15 อัน ติดกันเป็นกลุ่มๆ สลับกับเกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์ ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 2 ซม. เกสรเพศเมียมีก้านเกสรยาวประมาณ 5 ซม. มีขนเป็นแฉกรูปดาวประปราย รังไข่ยาวประมาณ 6 มม. มีขนสีเทาอมเหลือง รังไข่ติดอยู่บนก้าน
    ฝัก/ผล  รูปทรงกระบอกสั้นๆ กว้าง 3-4 ซม. ยาว 5-8 ซม. มีสันคม 5 สัน ผนังระหว่างสันเว้าเข้าเป็นแอ่ง ฐานคอดลงเป็นแกนสั้นๆ ยาว 0.8-1.3 ซม. ผนังมีขนสีเหลืองอมน้ำตาลทั่วไป ฝักแก่แตกตามรอยสันออกเป็น 5 เสี่ยง
    เมล็ด  มีจำนวนมาก รูปไข่หรือรูปรีแบน ด้านบนมีปีกยาวบางใสสีน้ำตาล กว้างประมาณ 6 มม. ยาวรวมทั้งฝักและปีกประมาณ 3.6 ซม.
ฤดูกาลออกดอก:  ออกดอกตลอดปี แต่ออกมากช่วงฤดูฝน
การดูแลรักษา:  เป็นพันธุ์ไม้หอมที่ทนทานกับสภาพแวดล้อมที่ไม่ค่อยเหมาะสมกับการเจริญเติบโต ของพืชอื่น เช่น ในสภาพดินที่มีเกลือปะปนอยู่ในดินระดับหนึ่ง (ดินที่เค็มไม่มากนัก) จึงเหมาะกับพื้นที่ราบลุ่มที่อยู่ใกล้ๆ ทะเล
การขยายพันธุ์:
    -    การตอนกิ่ง เป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากออกรากง่าย ขนาดของกิ่งที่จะใช้ตอนควรมีขนาด 2 - 20 ซม.
    -    การเพาะเมล็ด
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอกหอมเย็นตลอดวัน
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  ไทย
แหล่งที่พบ:  ขึ้นตามป่าละเมาะชายหาด ป่าชายหาด หรือตามร่องน้ำลำคลองที่ไม่ห่างจากฝั่งทะเล


กินมะเขือเทศ ต่างยามีสรรพคุณช่วยให้เลือดลมในตัวเดินดี (3757)

เห็นผลทันทีหลังกิน 3 ชม. แถมฤทธิ์อยู่นานกว่า 18 ชม. สรรพคุณใกล้เคียงยาแอสไพริน แต่ปลอดภัยกว่า ไม่ทำให้ตกเลือดในกระเพาะ..

   

นักวิทยาศาสตร์สถาบันโรเวตต์แห่งสกอตแลนด์ ได้แนะนำให้หันมากินมะเขือเทศแทนยาแอสไพรินกันเสีย

   

ศาสตราจารย์ อาซิมดัตตารอย ได้พบในการทดลองในสถานพยาบาลว่า เจลที่มีอยู่ในเมล็ดมะเขือเทศ ซึ่งไร้สีและรส มีสรรพคุณป้องกันเลือดจับตัวเป็นก้อนและช่วยให้เลือดลมในร่างกายเดินดีได้

   

ทางการสาธารณสุขสหภาพยุโรปก็ยอมรับคุณประโยชน์ทางยาของมัน และอนุมัติให้ใช้ในสินค้าอาหารต่างๆได้

   

ทุก วันนี้มีผู้คนทั่วโลกเรือนเป็นล้าน ต่างพากันกินยาแอสไพรินเบบี้กันอยู่เป็นประจำ โดยหวังว่าจะช่วยให้เลือดลมเดินปกติ แต่มันก็มีข้อเสีย อาจทำให้ตกเลือดในกระเพาะ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดแผลอักเสบภายในขึ้นได้

   

หนังสือ พิมพ์รายวัน "เดอะ เทเลกราฟ" ของเมืองน้ำชา รายงานว่า ศาสตราจารย์ได้บอกว่า จากการศึกษามาจนทุกวันนี้ ยังไม่พบว่าสารจากมะเขือเทศมีโทษอันใดเลย ยังพบว่าจะเห็นผลในทางช่วยให้เลือดลมดี หลังจากกินเข้าไป 3 ชม. เท่านั้น และจะยังคงมีฤทธิ์อยู่นานถึง 18 ชม.อีกด้วย

เอื้อเฟื้อข้อมูล โดย www.thairath.co.th

มะเขือเทศ : ต้านอนุมูลอิสระ-ชะลอชรา (3782)

การกินมะเขือเทศเป็นประจำ จะช่วยลดการเกิดอนุมูลอิสระได้มาก ช่วยชะลอความแก่ชรา และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บอย่างเช่น มะเร็ง หรือโรคหัวใจได้มาก...

   

มะเขือเทศ ทุกท่านคงจะรู้จักมะเขือเทศเป็นอย่างดี เพราะเป็นผลไม้ที่ใช้ในการประกอบอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน และเกลือแร่ต่างๆ มากมาย และเป็นแหล่งอาหารที่ดีสำหรับวิตามินซี วิตามินเค แร่ธาตุโปแตสเซียม และโบรอน สารสำคัญในมะเขือเทศที่ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ คือ สารไลโคพีน (lycopene) เป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ที่มีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระ และช่วยในการป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกาย สารไลโคพีนนี้มีประสิทธิภาพเหนือกว่าสารเบต้าเคโรทีน และสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์อื่นๆ ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และยังพบอีกว่าสารไลโคพีนช่วยลดโอกาสความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในต่อมลูก หมากได้มากถึงร้อยละ 20 สารไลโคพีนพบมากในมะเขือเทศแดงสด แตงโม และฝรั่งขี้นกที่มีเนื้อสีชมพูอมแดง

   

มนุษย์รับประทานมะเขือเทศเป็น อาหาร ผัก รวมทั้งเครื่องดื่ม นอกจากมะเขือเทศจะมีรสชาติที่อร่อยแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีคุณค่าทางอาหารมากมาย มะเขือเทศมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lycopersicon esculentum เป็นพืชในวงศ์ Solanaceae มะเขือ เทศเป็นพืชล้มลุกอายุประมาณหนึ่งปี เติบโตเร็ว ลำต้นมีขนปกคลุม มีกลิ่นเฉพาะตัว ใบหยักเว้าลึก ดอกสีเหลืองรูปดาว ผลฉ่ำน้ำ ผลมะเขือเทศอาจมีรูปร่างกลมหรือรี สีเหลือง ส้ม หรือแดง

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา มะเขือเทศเป็นแหล่งวิตามิน A, B, C, E และแร่ธาตุโพแทสเซียม น้ำจากผลมะเขือเทศที่คั้นใหม่ๆ ใช้ทำความสะอาดผิว ทำให้ผิวนุ่มเนียน และสวยงาม

   

น้ำคั้นจากผลมะเขือเทศมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระอย่างอ่อน เนื่องจากในมะเขือเทศมีสารไลโคปีน จัดเป็นสารแคโรทีนอยด์ชนิด หนึ่ง แคโรทีนอยด์นี้เป็นเม็ดสีธรรมชาติที่ละลายในไขมันซึ่งให้สีเหลืองสด ส้ม แดง และเขียวสดกับผัก ผลไม้ อย่างเช่น แครอท ฟักทอง บร็อคโคลี่ ฯลฯ มีคุณสมบัติช่วยต้านการเกิดอนุมูลอิสระ ทำให้อนุมูลของเซลล์ในร่างกายมีอนุภาคเป็นกลาง ช่วยหยุดยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของอนุมูลอิสระต่างๆ ไลโคปีนนี้จัดว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลังที่สุด ในมะเขือเทศมีไลโคปีนอยู่มากเหนือกว่าแตงโมเกือบสองเท่า การกินมะเขือเทศเป็นประจำ ก็จะช่วยลดการเกิดอนุมูลอิสระได้มาก จะช่วยชะลอความแก่ชรา และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บอย่างเช่น มะเร็ง หรือโรคหัวใจได้มาก

   

น้ำคั้นจากผลมะเขือเทศยับยั้งการเกิด มะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะในหนูทดลอง และช่วยลดอุบัติการการเกิดมะเร็งที่ระบบทางเดินอาหารได้อีกด้วย นอกจากนี้การรับประทานผลมะเขือเทศจะได้รับสารไลโคพีนที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อ การเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก

   

สารที่มีชื่อเรียกว่า tomatoside เป็น steroidal glycoside มีอยู่ในมะเขือเทศ แสดงคุณสมบัติของ interferon อาจใช้ป้องกัน และรักษาการติดเชื้อไวรัสในมนุษย์และสัตว์

   

การศึกษาวิจัยใช้สารเล็คทินที่สกัดจากมะเขือเทศสีดา พิสูจน์ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อเบต้าฮีโมลัยติค สเตร็ปโตค็อคคัส กลุ่มบี

เอื้อเฟื้อข้อมูล โดย www.thairath.co.th

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของกระถินเทศ (3856)

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Acacia  farnesiana  Willd.
ชื่อวงศ์:    MIMOSACEAE
ชื่อสามัญ:    Cassie  Flower, Sponge  Tree
ชื่อพื้นเมือง:    คำใต้, ดอกคำใต้, กระถินหอม, กระถิน, ถิน, บุหงาชียม, บุหงาอินโดนีเซีย, บุหงาละสะมะนา, มอนคำ, เกากรึนอง, อะเจ๋าฉิ่ว
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดย่อม  สูงประมาณ  2-4  เมตร  ลำต้นมีหนาม  ต้นกิ่งก้านจะมีสีคล้ำน้ำตาล
    ใบ    มีสีเขียวแก่  เป็นใบประกอบเรียงตัวลักษณะคล้ายขนนก 2 ชั้น ยาวประมาณ  5-8  เซนติเมตร  มีใบย่อย 10-20  คู่  หูของใบจะมีหนามยาวประมาณ 1-1.5  เซนติเมตร
    ดอก    เป็นช่อมีลักษณะเป็นพุ่มกลม  เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร  มีขนสั้นๆคลุมอยู่ มีสีเหลืองเข้มจะมีกลิ่นหอม  กลีบดอกเป็นหลอด  ส่วนปลายจะมี 5 กลีบ  รังไข่ยาวเป็นหลอด  มีเกสรตัวผู้มาก  ปลายก้านเกสรตัวเมียงอ  ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร
    ฝัก/ผล    มีลักษณะเป็นฝักยาวกลมตรงหรือโค้งเล็กน้อย  ยาวประมาณ 4-10  เซนติเมตร  เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร
    เมล็ด    รูปรี กว้าง 0.5 ซม. ยาว 0.7-0.8 ซม.
ฤดูกาลออกดอก:    ดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์:    เมล็ด
การปลูก:   ปลูกขึ้นได้ในดินร่วนซุยและดินเหนียวที่อุ้มน้ำได้ดี
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:    ดอก
การใช้ประโยชน์:    - สมุนไพร
                             - ฝักนำมาใช้เป็นสีย้อมแบบการใช้น้ำฝาดและทำหมึก
แหล่งที่พบ:    พบได้ทั่วไปทุกภาค
สรรพคุณทางยา:    - เปลือก เป็นยาฝาดสมาน แก้ไอ และริดสีดวงทวาร
                             - ราก ใช้แก้โรคไขข้ออักเสบ ทำให้อาเจียน ใช้พอกแก้บวม ต้มรวมกับขิงใช้อมบ้วนปากแก้เหงือกอักเสบและมีเลือดออก
                             - ดอก ใช้เป็นยาแก้เกร็งและเป็นยาฆ่าแมลง ใบใช้เป็นยาพอกแผล
                             - ยาง ที่ได้จากลำต้นมีคุณภาพดีนำมาใช้ทางด้านเภสัชกรรมเป็นสารแขวนลอย
การปรุงอาหาร:    น้ำมันดอกกระถินเทศใช้แต่งกลิ่นอาหาร เครื่องดื่ม ขนมหวาน และลูกกวาด แต่ต้องใช้ในปริมาณต่ำ