ค้นหาสินค้า

บัว

ขายต้นบัว ดอกบัวราคาถูก การปลูก วิธีดูแล และการขยายพันธุ์บัว ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ลักษณะและสรรพคุณ

ต้นบัว

บัวฉัตร
บัวฉัตร คลองสามวา กรุงเทพมหานคร

ราคา 150.00 บาท /1กระถาง

บัวอะเมซอน ต้นละ 40 บาท
บัวอะเมซอน ต้นละ 40 บาท กันทรวิชัย มหาสารคาม

ราคา 40.00 บาท

จังหวัดที่ขายต้นบัว

กรุงเทพมหานคร (1 ร้าน)

มหาสารคาม (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นบัว ทั้งหมดในเว็บ

เมล็ดพันธุ์บัว

เมล็ดพันธุ์บัว victoria
เมล็ดพันธุ์บัว victoria พาน เชียงราย

ราคา 5.00 บาท

เมล็ดพันธุ์บัวหลวง
เมล็ดพันธุ์บัวหลวง อรัญประเทศ สระแก้ว

ราคา 35.00 บาท

รับซื้อเม็ดบัวดำ
รับซื้อเม็ดบัวดำ สระแก้ว

ราคา 50.00 บาท /กิโลกรัม

เมล็ดบัวกระด้ง
เมล็ดบัวกระด้ง นครชัยศรี นครปฐม

ราคา 299.00 บาท /เมล็ด

เมล็ดบัวหลวง
เมล็ดบัวหลวง วังน้อย พระนครศรีอยุธยา

ราคา 900.00 บาท /กิโลกรัม

เมล็ดดอกบัวหลวง   ตรา 4ทิศ ซื้อ10 แถม1
เมล็ดดอกบัวหลวง ตรา 4ทิศ ซื้อ10 แถม1 วังสะพุง เลย

ราคา 15.00 บาท /ซอง

lotus seedes
lotus seedes ลาดหลุมแก้ว ปทุมธานี

ราคา 200.00 บาท /ซอง

เมล็ดพันบัววิกตอเรีย
เมล็ดพันบัววิกตอเรีย บางบัวทอง นนทบุรี

ราคา 6.00 บาท

จังหวัดที่ขายเมล็ดพันธุ์บัว

เชียงราย (1 ร้าน)

นครปฐม (1 ร้าน)

นนทบุรี (1 ร้าน)

ปทุมธานี (1 ร้าน)

พระนครศรีอยุธยา (1 ร้าน)

เลย (1 ร้าน)

สระแก้ว (2 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด เมล็ดพันธุ์บัว ทั้งหมดในเว็บ

ต้นกล้าบัว

ต้นบัว3สี
ต้นบัว3สี คลองสามวา กรุงเทพมหานคร

ราคา 350.00 บาท /1กระถาง

จังหวัดที่ขายต้นกล้าบัว

กรุงเทพมหานคร (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นกล้าบัว ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของบัว (3583)

ชื่อวงศ์:  NYMPHAEACEAE
ชื่อสามัญ:  Water Lily
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นพืชน้ำล้มลุก ลักษณะลำต้นมีทั้งที่เป็นเหง้า (Rhizome) ไหล (Stolon) หน่อ (Sprout) และหัว (Bulb)
    ใบ  เป็นใบเดี่ยวเจริญขึ้นจากลำต้น โดยมีก้านใบส่งขึ้นมาเจริญที่ใต้น้ำ ผิวน้ำหรือเหนือน้ำ รูปร่างของใบส่วนใหญ่กลมมีหลายแบบ ฐานใบแยกกางออกตรงจุดต่อของใบ และก้านใบ (Cordate) บางชนิดมีก้านใบติดอยู่ที่หลังใบ
    ดอก  เป็นดอกเดี่ยวสมบูรณ์เพศ  ก้านดอกยาวมีหนามเหมือนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ สีขาวอมเขียวหรือสีเทาชมพู ร่วงง่าย กลีบดอก (Petal) มีทั้งชนิดกลีบซ้อน และไม่ซ้อน ดอกตูมเป็นรูปกรวยแหลม ดอกมีสีสันแตกต่างกัน แล้วแต่ชนิด
    ฝัก/ผล  ตรงใจกลางดอกมีรูปร่างคล้ายกรวย สีเหลืองนวล หรือที่เรียกกันว่า ฝักบัว พอแก่จะมีสีเขียว รอบรูปกรวยที่มีไข่ฝังอยู่ มีเกสรตัวผู้ลักษณะเป็นเส้นสีเหลือง ล้อมรอบอยู่มากมาย เปลือกเมล็กสีเขียว ภายในมีเนื้อสีขาวนวล รสหวานมัน ตรงกลางที่ฝาเมล็ดบัวประกบกัน จะมีดีบัวสีเขียวเข้ม มีขนาดเล็กอยู่ตรงกลาง (ดีบัว คือ ต้นอ่อนเป็นส่วนที่จะงอกไปเป็นต้นใหม่ อยู่ในเมล็ด) 
ฤดูกาลออกดอก:  ตลอดทั้งปี ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
การปลูก: ปลูกในดินเหนียวในน้ำ
การดูแลรักษา: ต้องเป็นน้ำที่สะอาด ชอบแสงแดดจัดถ้าปลูกบัวในที่ร่มเกินไปบัวจะออกดอกน้อยหรือไม่ออกดอกเลย
การขยายพันธุ์:
    - แยกเหง้า บัวในเขตอบอุ่นและเขตหนาวที่มีลำต้นเป็นแบบเหง้าสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยวิธีแยกหน่อหรือต้นอ่อนจากเหง้าต้นแม่ไปปลูก  โดยตัดแยกเหง้าที่มีหน่อหรือต้นอ่อนยาว 5-8 ซม. ตัดรากออกให้หมด  ถ้าเป็นต้นอ่อนสามารถนำไปปลูกยังที่ต้องการได้เลย  ถ้าเป็นหน่อให้นำไปปลูกในกระถางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-25 ซม.  ฝังดินให้ลึกประมาณ 3-5 ซม. กดดินให้แน่น  เทน้ำให้ท่วมประมาณ 8-10 ซม.  ดินที่ใช้ควรเป็นดินเหนียวเพื่อช่วยจับเหง้าไม้ให้ลอยขึ้นเหนือผิวน้ำ  เมื่อหน่อเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่จึงย้ายไปปลูกยังที่ต้องการ
    - แยกไหล บัวในเขตร้อนโดยเฉพาะบัวหลวงจะสร้างไหลจากหัวหรือเหง้าของต้นแม่แล้วไปงอกเป็นต้นใหม่  สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยวิธีตัดเอาไหลที่มีหน่อหรือปลิดต้นใหม่จากไหลไปปลูก  การตัดไหลที่มีหน่อไปปลูกควรตัดให้มีขนาดความยาวประมาณ 2-3 ข้อ และมีตาประมาณ 3 ตา  นำไหลที่ตัดฝังดินให้ลึก 3-5 ซม. กดดินให้แน่น  ต้นอ่อนจะขึ้นจากตาและเจริญเป็นต้นใหม่ต่อไป
    - แยกต้นอ่อนที่เกิดจากใบ บัวในเขตร้อนสกุลบัวสายบางชนิดจะแตกต้นอ่อนบนใบบริเวณกลางใบตรงจุดที่ต่อกับก้านใบหรือขั้วใบ  สามารถขยายพันธุ์ได้โดยตัดใบที่มีต้นอ่อนโดยตัดให้มีก้านใบติดอยู่ 5-8 ซม.  เสียบก้านลงในภาชนะที่ใช้ปลูกให้ขั้วใบที่มีต้นอ่อนติดกับผิวดิน  ใช้อิฐหรือหินทับแผ่นใบไม่ให้ลอย  เติมน้ำให้ท่วมยอด 6-10 ซม.  ประมาณ 2 สัปดาห์ ต้นอ่อนจะแตกรากยึดติดกับผิวดินและเจริญเติบโตต่อไป
    - เพาะเมล็ด การขยายพันธุ์วิธีนี้ไม่ค่อยนิยมปฏิบัติเนื่องจากยุ่งยากและต้องใช้เวลานาน  ยกเว้นบัวกระด้งที่ต้องขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดเท่านั้น  นอกจากนี้การเพาะเมล็ดมักนิยมใช้กับเมล็ดบัวที่ได้จากการผสมพันธุ์บัวขึ้นมา ใหม่แล้วเก็บเอาเมล็ดนำมาเพาะ  เพื่อสะดวกในการคัดแยกพันธุ์  วิธีการเพาะเมล็ดมีดังนี้  เตรียมดินเหนียวที่ไม่มีรากพืช  ใส่ลงในภาชนะปากกว้างที่มีความลึกประมาณ 25-30 ซม.  โดยไส่ดินให้สูงอย่างน้อย 10 ซม. ปรับแต่งหน้าดินให้เรียบและแน่น  เติมน้ำให้สูงจากหน้าดินประมาณ 7-8 ซม.  นำเมล็ดที่จะใช้เพาะโรยกระจายบนผิวน้ำให้ทั่ว  เมล็ดจะค่อยๆ จมลงใต้น้ำ  สำหรับเมล็ดบัวหลวงและบัวกระด้งเมล็ดมีขนาดใหญ่  ให้กดเมล็ดให้จมลงไปในดินแล้วเติมน้ำให้สูงจากผิวดินประมาณ 15 ซม.  นำภาชนะที่เพาะไปไว้ในที่มีแดดรำไร  ประมาณ 1 เดือน เมล็ดจะเริ่มงอกเป็นต้นอ่อน  เมื่อต้นอ่อนแข็งแรงและมีใบประมาณ 2-3 ใบ จึงแยกนำไปปลูกยังที่ต้องการ
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอกขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
แหล่งที่พบ:  พบได้ทั่วไปทั้งในเขตร้อน เขตอบอุ่น และเขตหนาว

*บัวเป็นราชินีแห่งไม้น้ำ

บัวเป็นไม้มงคล (3584)

ความมงคล:
คนไทยส่วนใหญ่มักจะใช้ดอกบัว ในการบูชาพระอยู่เสมอ แต่บัวที่เรานิยมปลูกไว้ภายในบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล คือ บัวหลวง บัวผัน บัวฝรั่ง บัวสาย และบัวกระด้ง ความเชื่อในทางพุทธศาสนา ตั้งแต่สมัยโบราณว่า ดอกบัวก็เหมือนกับคนเรานี้เอง ดอกบัวที่ชูดอกพ้นจากผิวน้ำขึ้นมารับแสงสว่างได้นั้น ก็เหมือนกับ ผู้ที่หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง กลายเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ซึ่งถือเป็นความหมายอันลึกซึ้ง และเป็นมงคลยิ่งนัก
คนโบราณจึงมึความเชื่อว่า ครอบครัวใดที่ปลูกบัวเอาไว้ประจำบ้าน ก็จะช่วยให้คนครอบครัวนั้น มีจิตใจที่บริสุทธิ์ สะอาด และเบิกบานแจ่มใส เช่นเดียวกับดอกบัว และยังเชื่ออีกว่า สายใยของบัวที่ยืดยาวนั้น คือสายสัมพันธ์ของครอบครัว จะทำให้ทุกคนมีความห่วงใยรักใคร่ และผูกพันต่อกันอย่างแนบแน่น ครอบครัวนั้น ก็จะมีแต่ความสุข เพราะความรักใคร่ปรองดองของคนในครอบครัวทุกคน

   

ตำแหน่งที่ปลูก:
ปลูกบัวทางทิศตะวันตก เจริญงอกงามมากกว่าการปลูกบัวทางทิศอื่นๆ ควรปลูกต้นบัวในวันพุธ เพราะวันพุธนั้น เหมาะสำหรับการปลูกต้นไม้ที่ให้ดอกสวยงาม ต้นบัวที่ปลูกในวันพุธ จะทำให้บัวผลิดอกบานสะพรั่งงดงามไปทั่วทั้งสระ ผู้ที่เหมาะที่จะปลูกบัวมากที่สุด คือ ผู้ที่เกิดปีจอ เพราะต้นบัวนั้น เป็นต้นไม้ประจำปีของคนเกิดปีจอ หากผู้ที่เกิดปีจอเป็นผู้ปลูก และมีผู้ที่เกิดปีเดียวกันอาศัยอยู่ภายในบ้าน ก็จะช่วยเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้มากยิ่งขึ้นไปอีก (ถ้าไม่มีผู้ที่เกิดปีจอ ก็ควรให้หัวหน้าครอบครัวเป็นผู้ปลูกก็ได้)


ประเภทของบัว (3585)

พันธุ์บัว เป็นพืชน้ำที่จัดอยู่ในตระกูล Nymphaeaceae ที่พบแล้ว มี 8 สกุล 50 ชนิด
การจำแนกหรือแบ่งประเภทของบัว มีหลายวิธี
1. การจำแนกตามถิ่นกำเนิด และการเจริญเติบโต แบ่งได้ 2 จำพวก คือ
1.1 บัวที่เกิด และเจริญเติบโตในเขตอบอุ่น และเขตหนาว (Hardy Type หรือ Hardy Water Lily) เช่น ยุโรป อเมริกาเหนือ ภาคใต้ของอเมริกาใต้ ตอนเหนือของอินเดีย จีน และออสเตรเลีย บังประเภทนี้มีเหง้าสะสมอาหารอยู่ในดิน ในฤดูหนาวที่น้ำกลายเป็นแผ่นน้ำแข็ง บัวจะทิ้งใบ และอาศัยอาหารในเหง้าเลี้ยงตัวเอง เมื่อเข้าฤดูใบไม้ผลิ น้ำแข็งละลาย ก็จะเจริญแตกหน่อต้นใหม่ และจะเจริญเติบโตออกดอกออกผล หมุนเวียนอยู่เช่นนี้เรื่อยไป นักพฤกษศาสตร์จัดให้บัวประเภทนี้ อยู่ในกลุ่ม Castalia Group หรือ อุบลชาติประเภทยืนต้น
1.2 บัวที่เกิด และเจริญเติบโตในเขตร้อน (Tropical Type หรือ Tropical Water Lily) เช่น ทวีปเอเชียตอนกลาง และตอนใต้ แอฟริกา ออกสเตรเลียตอนเหนือ อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ บัวประเภทนี้กำเนิด และเจริญเติบโตได้ในเขตร้อนเขตเดียว ไม่สามารถอยู่ได้ในเขตหนาว นักพฤกษศาสตร์จัดให้บัวประเภทนี้ อยู่ในกลุ่ม Lotus Group หรือ อุบลชาติประเภทล้มลุก
2. การจำแนกบัวตามสกุล โดยทั่วไปนักพฤกษศาสตร์ได้จัดแบ่งบัว ไว้เป็น 3 สกุล ได้แก่
    -สกุลเนลุมโบ ( Nelumbo ) หรือปทุมชาติ มีถิ่นกำเนิดแถบเอเชีย เช่น  จีน  อินเดียและไทย  มีลำต้นใต้ดินแบบเหง้าและไหลซึ่งเมื่อยังอ่อนจะมีลักษณะเรียวยาว  เมื่อโตเต็มที่จะอวบอ้วนเนื่องจากสะสมอาหารไว้มาก  มีข้อปล้องเป็นที่เกิดของราก  ใบและดอกเกิดจากหน่อที่ข้อปล้องแล้วเจริญขึ้นมาที่ผิวน้ำหรือเหนือน้ำ  ใบเป็นใบเดี่ยวมีลักษณะกลมใหญ่สีเขียวอมเทา  ขอบใบยกผิวด้านบนมีขนอ่อนๆ ทำให้เมื่อโดนน้ำจะไม่เปียกน้ำ  เมื่อใบยังอ่อนใบจะลอยปิ่มน้ำ  ส่วนใบแก่จะชูพ้นน้ำ  ก้านใบและก้านดอกมีหนาม  ดอกเป็นดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ชูสูงพ้นผิวน้ำ  มีทั้งดอกป้อมและดอกแหลม  บานในเวลากลางวันมีกลิ่นหอมอ่อนๆ  ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 4-6 กลีบ  ด้านนอกมีสีเขียว  ด้านในมีสีเดียวกับกลีบดอก  กลีบดอกมีทั้งชนิดดอกซ้อนและไม่ซ้อน  สีของกลีบดอกมีทั้งสีขาว ชมพู หรือเหลือง แตกต่างกันแล้วแต่ชนิดพันธุ์  บัวในสกุลนี้เป็นบัวที่รู้จักกันดีเพราะเป็นบัวที่มีดอกใหญ่นิยมนำมาไหว้พระ และใช้ในพิธีทางศาสนา  เหง้าหรือที่มักเรียกกันว่ารากบัวและไหลบัวรวมทั้งเมล็ดสามารถนำมาเป็นอาหาร ได้
    -สกุลนิมเฟียร์ ( Nymphaea ) อุบลชาติ หรือ บัวสาย บัวสกุลนี้มีลำต้นใต้ดินเป็นหัวหรือเหง้า  ใบและดอกเกิดจากตาหรือหน่อและเจริญขึ้นมาที่ผิวน้ำด้วยก้านส่งใบและยอด  บางชนิดมีใบใต้น้ำ  ใบเป็นใบเดี่ยว  มีขอบใบทั้งแบบเรียบและแบบคลื่น  ผิวใบด้านบนเรียบเป็นมัน  ด้านล่างมีขนละเอียดหรือไม่มี  ดอกเป็นดอกเดี่ยวมีทั้งชนิดที่บานกลางคืนและบานกลางวัน  บางชนิดมีกลิ่นหอม  มีสีสันหลากหลายแตกต่างกันไป
    -สกุลวิกตอเรีย ( Victoria ) หรือบัววิกตอเรีย จัดเป็นบัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด  มีลำต้นใต้ดินเป็นหัวใหญ่  ใบเป็นใบเดี่ยวมีขนาดใหญ่ประมาณ 6 ฟุต ลอยบนผิวน้ำ  ใบอ่อนมีสีแดงคล้ำเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม  ขอบใบยกขึ้นตั้งตรง  มีหนามแหลมตามก้านใบและผิวใบด้านล่าง  ดอกเป็นดอกเดี่ยวขนาดใหญ่  ก้านดอกและกลีบเลี้ยงด้านนอกมีหนามแหลม  บานเวลากลางคืนและมีกลิ่นหอม  ดอกประกอบด้วยกลีบเลี้ยงจำนวน 4 กลีบ ด้านนอกมีสีเขียวด้านในสีเดียวกับกลีบดอก  เมื่อเริ่มบานกลีบดอกจะมีสีขาวและจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูต่อไป

   

ในแต่ละสกุลสามารถจำแนกได้หลายชนิด สำหรับในประเทศไทยชนิดของบัวที่ปลูกเป็นการค้ามี 6 ชนิด
1. บัวหลวง : ( Nelumbo nucifera) อยู่ในสกุลปทุมชาติ ลักษณะใบชูเหนือน้ำ เจริญเติบโตโดยมี ไหล ชอนไชไปใต้พื้นดิน พันธุ์ของบัวหลวงที่นิยมปลูกในปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ฉัตรขาว ฉัตรแก้ว และฉัตรแดง
2. บัวฝรั่ง :  ( Zephyranthes rosaw) อยู่ในสกุลปทุมชาติ ลักษณะคล้ายบัวหลวง ต้นอ่อน เจริญเติบโตโดยสร้างลำต้น หรือเหง้า เจริญตามแนวนอนใต้ผิวดิน ลักษณะใบมีทั้งขอบเรียบและขอบใบจัก
3.บัวผัน บัวเผื่อน : ( Nymphacea lotus) อยู่ในสกุลอุบลชาติ ต้นที่งอกจากเมล็ดจะเจริญตามแนวดิ่งขึ้นสู่ผิวดิน แล้วแตกก้านใบบนผิวดินดอกชูพ้นน้ำ บานในเวลาเช้าหรือกลางวัน และหุบตอนเย็น เป็นบัวชนิดที่ขยายพันธุ์ได้ช้า
4. บัวสาย : ( Nymphacea lotus) อยู่ในสกุลอุบลชาติ มีหัวกลมๆ สายขนาดปลายนิ้วก้อย มีขนเล็กน้อย ใบมน ขอบใบจัก ดอกบานกลางคืน และหุบเวลาเช้า
5.บัวจงกลนี : ( Nymphacea lotus) อยู่ในสกุลอุบลชาติ มีเหง้าเจริญเติบโตในแนวดิ่ง เมื่อเหง้าแก่เต็มที่จะสร้างหัวเล็กๆรอบเหง้า เมื่อหัวแก่จะเจริญเป็นต้นใหม่ขึ้นมาข้างๆต้นแม่
6. บัวกระด้ง : (Victoria amazonica) ใบมีขนาดใหญ่ กลมคล้ายกระด้ง


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของบัวหลวง (3586)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Nelumbo nucifera
ชื่อวงศ์:  NYMPHACACEAE
ชื่อสามัญ:  Lotus, Sacred lotus, Egyptian
ชื่อพื้นเมือง:  บุณฑริก ปุณฑริก  ปทุม ปัทมา โกกระณต สัตตบุษย์  บัวฉัตรขาว   สัตตบงกช   บัวฉัตรชมพู   โช้ค  บัวอุบล
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้โผล่เหนือน้ำ อายุหลายปี ลำต้นมีทั้งที่เป็นเหง้าใต้ดิน และเป็นไหลเหนือดิน ใต้น้ำ
    ใบ  ใบเดี่ยว  เรียงสลับ  ใบรูปไข่ค่อนช้างกลม ขนาด 15-40 เซนติเมตร ขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเรียบ สีเขียวและมีนวลเคลือบ ก้านใบกลมเรียวแข็งส่งใบให้เจริญที่ผิวน้ำหรือเหนือน้ำ มีหนามเป็นตุ่มเล็กๆ ภายในก้านใบมีน้ำยางใสเมื่อถูกอากาศเป็นสีคล้ำ
    ดอก  สีชมพู ขาว มีกลิ่นหอม ออกเป็นดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ ก้านดอกสีเชียว อวบกลมส่งดอกชูขึ้นเหนือน้ำ  กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ มีทั้งกลีบดอกชั้นเดียวและกลีบดอกซ้อนกัน  มีเกสรตัวผู้จำนวนมากติดอยู่รอบฐานรองดอกที่บวมขยายใหญ่ หุ้มรังไข่ไว้ภายในเรียกว่า   "ฝักบัว"   ดอกบานเต็มที่กว้าง 20-25 เซนติเมตร บัวหลวงมีหลายพันธุ์มีชื่อเรียกต่างกันไปตามขนาดและลักษณะชองดอกคือ     
                    ดอกเล็กสีขาว เรียก บัวปักกิ่งขาว บัวหลวงจีนขาว บัวเข็มขาว
                    ดอกเล็กสีชมพู เรียก บัวปักกิ่งชมพู บัวหลวงจีนชมพู บัวเข็มชมพู
                    ดอกสีขาว เรียก บุณฑริก ปุณฑริก
                    ดอกสีชมพู เรียก ปทุม ปัทมา โกกระณต
                    ดอกสั้นป้อมสีขาวกลีบซ้อน เรียก บัวสัตตบุษย์ บัวฉัตรขาว
                    ดอกสั้นป้อมสีชมพูกลีบซ้อน เรียก บัวสัตตบงกช บัวฉัตรสีชมพู
    ฝัก/ผล  ผลแห้ง เเบบผลกลุ่มประกอบด้วยผลย่อยรูปกลมรีจำนวนมากอยู่ภายในฝักบัวรูปกรวย ในผลย่อยมีเมล็ดขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร เมล็ดล่อน
ฤดูกาลออกดอก:  ตลอดปี
การปลูก:  ปลูกประดับสระน้ำหรือปลูกในกระถางทรงสูง
การขยายพันธุ์:  ไหล หรือโดยการแยกกอ
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    ก้านใบและก้านดอก ทำกระดาษ และเส้นใยใช้ทำไส้ตะเกียง
    -    บูชาพระ
    -    เปลือกเมล็ดบัวแห้ง และฝักแก่ทำปุ๋ย
    -    เครื่องสำอาง
    -    สมุนไพร
    -    บริโภค
แหล่งที่พบ:  พบทั่วไปทุกภาค
ส่วนที่ใช้บริโภค:  เม็ดบัว รากบัว ไหลบัว สายบัว ใบอ่อน
การปรุงอาหาร:
    -    เม็ดบัว สามารถนำมากินได้ทั้งสดและแห้ง เม็ดบัวมีปริมาณสารอาหารที่สำคัญ คือ โปรตีน ประมาณ 23 % ซึ่งสูงกว่าข้าวถึง 3 เท่า และเป็นแหล่งรวมธาตุ อาหารหลายชนิดด้วยกัน เม็ดบัวนำมาประกอบอาหารได้ทั้งคาวหวาน เช่น สังขยา เม็ดบัว ขนมหม้อแกงเม็ดบัว เม็ดบัวเชื่อม สาคูเม็ดบัว เป็นต้น
    -    รากบัว นิยมนำมาเชื่อมแห้งกินเป็นของหวาน
    -    ไหลบัว สามารถนำมาประกอบอาหารได้ทั้งสด ทั้งแห้ง โดยมากจะนำมาแกงส้ม แกงเลียง ผัดเผ็ดต่าง ๆ
    -    สายบัว สามารถปรุงอาหารแทนผักได้หลายชนิด ทั้งแกงส้มสายบัว แกงสายบัวกับปลาทู ฯลฯ
    -    ใบอ่อน สามารถนำมากินเป็นผักสดแกล้มน้ำพริก
สรรพคุณทางยา:
    -    รากบัว นำไปต้มกับน้ำตาลกรวด แก้ร้อนใน ชาวอินเดีย จะให้เด็กดื่มน้ำรากบัว เพื่อระงับอาการท้องร่วง
    -    สายบัว กินเพื่อแก้อาการท้องร่วง
    -    ใบบัว นำมาหั่นฝอย ๆ ชงดื่มแทนน้ำชา ช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำได้เป็นอย่างดี
    -    เกสรบัว  ส่วนของเกสรสีเหลือง สามารถใช้เข้าเครื่องยาทั้งไทยและจีน โดยเฉพาะยาลม ยาหอม ยาบำรุงหัวใจ และยาขับปัสสาวะ
    -    ดีบัว เป็นส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ภายในเม็ดบัว มีรสขมจัด สามารถนำมาเป็นส่วนผสมของยาโบราณ มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้
ความมงคล:
บัวหลวง นับว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันคนไทยก็ยังนิยมนำดอกบัวหลวงมาใช้บูชาพระ  ยากที่จะหาไม้ดอกชนิดอื่นมาทดแทนได้ ซึ่งบัวที่นิยมนำมาไหว้พระก็ได้แก่ บัวหลวง บัวหลวง นอกจากดอกที่มีคุณค่าแล้ว ส่วนอื่นๆของบัวหลวงก็มีคุณค่าไม่แพ้ดอก ซึ่งแต่ละส่วนก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น

*ดอกบัวหลวงเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี พิจิตร ยโสธร สุโขทัย และหนองบัวลำภู


บัวหลวงในประเทศไทยมีกี่ประเภท (3587)

บัวหลวงในประเทศไทยสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. บัวหลวงสีขาว มี 2 พันธุ์ คือ
- พันธุ์ Hindu lotus ดอกมีขนาดใหญ่ ดอกตูมเป็นรูปไข่ ปลายเรียว กลีบดอกชั้นเดียว ได้แก่ บุณฑริก ปุณฑริก บัวหลวงขาว บัวแหลมขาว
- พันธุ์ Magnolia lotus ดอกมีขนาดใหญ่ ดอกตูมทรงป้อม กลีบดแอกซ้อนกันแน่น ได้แก่ สัตตบุษย์ บัวฉัตรขาว บัวป้อมขาว บัวหลวงขาวซ้อน
2. บัวหลวงพันธ์สีชมพู มี 3 พันธุ์ คือ
- พันธุ์ EastIndian Lotus ดอกมีขนาดใหญ่ ดอกตูมรูปไข่ ปลายเรียว กลีบดอกชั้นเดียว ได้แก่ ปทุม ปัทมา โกกระณต บัวหลวงชมพู บัวแหลมแดง
- พันธุ์ Roseum Plenum ดอกมีขนาดใหญ่ ดอกตูทรงป้อม กลีบดอกซ้อนกันแน่น ได้แก่ สัตตบงกต บัวหลวงป้อมแดง บัวฉัตรแดง
- พันธุ์บัวเข็มชมพู ดอกมีขนาดเล็ก ดอกตูมเรียวเป็นรูปไข่ กลีบดอกชั้นเดียว  ได้แก่ บัวปักกิ่งชมพู บัวไต้หวัน บัวหลวงจีนชมพู


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของบัวฝรั่ง (3588)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Nymphaea sp. and hybrid
ชื่อวงศ์:  Nymphaeaceae
ชื่อสามัญ:  Hardy water-lily
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นไม้โผล่เหนือน้ำ มีหัวหรือเหง้าใต้ดิน
    ใบ  ใบเดี่ยว  เรียงสลับ ใบรูปไข่หนาค่อนข้างกลม ขนาด 15-25 เซนติเมตร  ขอบใบเรียบหรือหยักซี่ฟัน แผ่นใบหนา ผิวใบด้านบนสีเขียวสดเป็นมัน ก้านใบและก้านดอกมักมีขนนุ่มปกคลุม
    ดอก  สีขาว  เหลือง  ชมพู  แสด  แดง  มักไม่มีกลิ่นหอม  ในบางพันธุ์อาจมีกลิ่นฉุนหรือมีกลิ่นหอมอ่อนๆ  ออกเป็นดอกเดี่ยวจากเหง้า ก้านดอกอวบกลม ผิวเรียบหรือมีขนปกคลุมมากน้อยแล้วแต่พันธุ์  ส่งดอกขึ้นลอยที่ผิวน้ำ ดอกรูปถ้วยหรือค่อนข้างกลม กลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกันหลายชั้น ดอกบานช่วงเข้าถึงบ่ายหรือเย็น  ดอกบานเต็มที่กว้าง 6-8 เซนติเมตร
    ฝัก/ผล  ผลสดแบบมีเนื้อ รูปไข่ถึงทรงกลม เปลือกหนา
    เมล็ด  สีดำ มีเมล็ดจำนวนมาก
ฤดูกาลออกดอก:  ออกดอกดกในฤดูฝน
การปลูก:  ปลูกเป็นไม้ประดับในภาชนะหรือสระน้ำธรรมชาติที่ลึกไม่เกิน 40 เซนติเมตร
การดูแลรักษา:  ชอบดินเหนียวที่มีอินทรียวัตถุ  เจริญได้ดีที่ระดับน้ำ 20 - 100 cm. พื้นที่ผิวน้ำ 0.5 - 1 m2  มีแสงแดดครึ่งวันถึงเต็มวัน บัวฝรั่งทุกพันธุ์ถ้านำมาปลูกในเขตร้อน เช่น เมืองไทย การพักตัวจะขึ้นอยู่กับพันธุ์บัว ภาวะ และช่วงเวลาของความหนาวเย็น ถ้าเริ่มต้นมีอากาศหนาวเย็นมาก และนานตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป บัวฝรั่งบางพันธุ์จะแสดงอาการพักตัว บางพันธุ์จะยังไม่แสดงอาการจนกว่าจะมีอากาศหนาวอีกครั้ง (คือ บรรยากาศในภาคกลางของไทย) ซึ่งจะสลัดใบลอยออกและผลิใบหนาที่มีก้านสั้นอยู่ใต้น้ำ ถ้าปลูกในกรุงเทพฯ ภาคกลาง และภาคใต้ของไทย บางทีถ้าอากาศไม่เป็นดังที่กล่าว บัวอาจจะพักตัวหรือไม่ก็ได้ ถ้าอากาศไม่หนาวเกินไป อีกปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ ความเย็นของน้ำที่ปลูกบัว ปกติบัวสามารถเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิระหว่าง 20-30 องศาเซลเซียส ณ จุดยอด (Crown) ของบัวใต้น้ำ ถ้าอุณหภูมิลดต่ำหรือสูงขึ้นประมาณ 5 องศาเซลเซียส บัวจะเจริญเติบโตอยู่ได้ แต่ไม่งาม
การขยายพันธุ์:  แยกหน่อหรือเหง้า
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก ขึ้นอยู่กับชนิด
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  ฝรั่งเศส และประเทศทางแถบยุโรป


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของบัวผัน (3589)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Nymphaea Cyanea Roxb.
ชื่อวงศ์:  NYMPHAEACEAE
ชื่อสามัญ:  Day - Blooming Tropical Waterlily
ชื่อพื้นเมือง:  บัวผัน, นิลุบล, นิลอุบล
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นไม้น้ำและไม้ล้มลุกหลายฤดู มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน
    ใบ  เป็นใบเดี่ยว เรียงเป็นวงสลับถี่ ใบรูปรีหรือค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 20-30 ซม. โคนใบเว้าลึก ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นคลื่น ใบลอยปริ่มน้ำ ใต้ใบสีเขียวหรือมีจุดสีม่วงหรือน้ำตาลแดง
    ดอก  เป็นดอกเดี่ยวกลีบดอกซ้อนมีหลายสี เช่น สีคราม ฟ้าอ่อน ม่วง ดอกชูเหนือน้ำเล็กน้อย ก้านดอกมีสีม่วงแดง เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 15-20 ซม. ดอกบานกลางวัน และมีกลิ่นหอมและขนาดใหญ่กว่าบัวเผื่อน เมื่อบานหลาย ๆ วันสีจะจางลง ปลายกลีบเรียวแหลมมีหลายสี เกสรสีเหลือง
ฤดูกาลออกดอก:  ตลอดปี ออกดอกดก ดอกบานในช่วงเช้าถึงเย็น
การปลูก:  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับในอ่างหรือสระน้ำ
การดูแลรักษา:  เป็นบัวพื้นเมืองที่มีความทนทานปลูกเลี้ยงง่าย  สามารถทนแดดทนฝนได้ดี
การขยายพันธุ์:  แยกหน่อหรือ แยกเหง้า
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก  กลิ่นหอมหวาน
การใช้ประโยชน์:
    -    นำมาทำเครื่องประทินผิวและน้ำหอม
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:  ในเขตร้อน
สรรพคุณทางยา: หัว ใช้เป็นยาได้


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของบัวเผื่อน (3590)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Nymphaea Stellata Wild.
ชื่อวงศ์:  Nympheaceae
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้น้ำและไม้ล้มลุกหลายฤดู
    ใบ  ใบเดี่ยวเรียงเป็นวงสลับถี่ แผ่นใบรูปรีหรือกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 10-20 ซม. โคนใบเว้าลึก ขอบใบเรียบ ผิวเป็นคลื่น ใบลอยปริ่มน้ำใบด้านบนเป็นสีเขียวมัน ด้านล่างเป็นสีม่วงอมน้ำเงิน
    ดอก  เป็นดอกเดี่ยวสีครามอ่อน แล้วเปลี่ยนเป็นสีขาวในวันสุดท้าย ดอกชูเหนือน้ำเล็กน้อย กลีบดอก 8-16 กลีบ เรียงซ้อน 2-3 ชั้น เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-10 ซม. เริ่มบานตอนสายและหุบตอนบ่าย
ฤดูกาลออกดอก:  ออกดอกตลอดปี
การปลูก:  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับในอ่างหรือสระน้ำ
การดูแลรักษา:  เป็นบัวพื้นเมืองที่มีความทนทานปลูกเลี้ยงง่าย สามารถทนแดดทนฝนได้ดี
การขยายพันธุ์:  เมล็ด แยกหน่อหรือ แยกเหง้า
การใช้ประโยชน์:
    -    ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ
    -    บริโภค
ส่วนที่ใช้บริโภค:  ก้านดอกใช้รับประทานเป็นผัก


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของบัวสาย (3591)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Nymphaea pubescens Willd.
ชื่อวงศ์:  Nymphaeaceae
ชื่อสามัญ:  Red indian water lily
ชื่อพื้นเมือง:  บัวสายขาว บัวสายแดง บัวสายสีชมพู รัตอุบล เศวตอุบล สัตตบรรณ เศวตอุบล
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้โผล่เหนือน้ำ อายุหลายปี จัดอยู่ในกลุ่มอุบลชาติ ลำต้นมีทั้งที่เป็นเหง้าสั้นๆ อยู่ใต้ดิน คล้ายหัวเผือก
    ใบ  ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปไข่ค่อนช้างกลม ขนาด 25-30 เซนติเมตร ฐานใบหยักเว้าลึก ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยใหญ่   หูใบเปิด  ผิวใบด้านบนเรียบเป็นมันใบอ่อนสีแดงเลือดหมู ใบแก่มีสีเขียว ผิวใบด้านล่างถ้าเป็นใบอ่อนสีม่วง ใบแก่มีสีน้ำตาลมีขนนุ่มๆ เส้นใบใหญ่นูน ก้านใบสีน้ำตาล ยาวเท่าระดับน้ำที่ส่งแผ่นใบขึ้นมาลอยเรียงเป็นวงที่ผิวน้ำ
    ดอก  สีม่วงแดง ชมพู ชาว ออกเป็นดอกเดี่ยวจากเหง้า ก้านดอกสีน้ำตาลอวบกลมส่งดอกขึ้นลอยที่ผิวน้ำ กลีบเลี้ยง 4 กลีบ สีเขียวเหลือบน้ำตาลแดง ดอกรูปครึ่งวงกลมถึงค่อนข้างกลม กลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกันหลายชั้น เกสรเพศผู้สีเหลืองหรือสีตามกลีบดอกจำนวนมาก ลักษณะเป็นแผ่นแบน มีอับเรณูเป็นร่องขนานตามความยาว  รังไข่ขนาดใหญ่ติดกับชั้นของกลีบดอก  เกสรเพศเมียติดกับรังไข่ด้านบนตามแนวรัศมี ก้านดอกสีน้ำตาล ดอกบานช่วงใกล้ค่ำถึงตอนสายของวันรุ่งขึ้น ดอกบานเต็มที่กว้าง 15-20 เซนติเมตรมีหลายพันธุ์มีชื่อเรียกต่างกันไปตามสีชองดอกคือ
                    ดอกสีขาว เรียก โกมุท กมุท กุมุท เศวตอุบล
                    ดอกสีชมพู เรียก ลินจง
                    ดอกสีม่วงแดง เรียก สัตตบรรณ รัตตอุบล
    ฝัก/ผล  ผลสดค่อนข้างกลม เรียก "โตนด"  มีเนื้อ
    เมล็ด  เมล็ดทรงกลมจำนวนมาก
ฤดูกาลออกดอก:  ตลอดปี
การปลูก:  เป็นไม้น้ำที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในโอ่งมังกร หรือในบ่อน้ำ วิธีปลูกทำได้โดยผสมดินและปุ๋ยคอกใส่ลงในกระถาง นำบัวลงมาปลูกในกระถาง ใช้ดินเหนียวหรือดินท้องนากลบทับเพื่อป้องกันดินและปุ๋ยคอกลอยขึ้นมา หลังจากนั้นก็นำไปวางในโอ่งปากกว้างใส่น้ำให้เต็ม ในกรณีที่ปลูกในบ่อ/บึงหรือในท้องนา ต้องนำหน่อที่แยกออกมาปักดำลงไปในดิน
การดูแลรักษา:  เป็นพืชที่ชอบแดด การใส่ปุ๋ยใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 15-15-15 ประมาณ 1 ช้อนชา ห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์นำไปฝังบริเวณใกล้ราก โดยใส่ปุ๋ยประมาณ 2 ช้อนชาต่อเดือน
การขยายพันธุ์:  เมล็ด หน่อ
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    บริโภค
    -    สมุนไพร
    -    เครื่องสำอางประทินกลิ่น
ส่วนที่ใช้บริโภค:  ก้านดอก(สายบัว) รับประทานได้
สรรพคุณทางยา: หัว ช่วยบรรเทาความร้อนในร่างกาย


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของบัวจงกลนี (3592)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Nymphaea lotus Linn.
ชื่อวงศ์:  Nymphaeaceae
ชื่อสามัญ:  Pink Double Wit Frilled Petals
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เหมือนบัวทุกชนิดรวมกัน พืชน้ำ รากฝังโคลนเลน ก้านดอกอ่อนมีเปลือกลอกออกได้เป็นสายใย ผิวเกลี้ยงไม่มีหนาม
    ใบ  ใบลอยอยู่บนผิวน้ำ ขอบใบจักถี่ ห่าง ไม่มีระเบียบ ใบเหมือนบัวสาย
    ดอก  ดอกชูพ้นน้ำ บานกลางวัน กลีบดอกเล็กเรียว ซ้อนมาก ดอกลอยบานตลอดเวลา มีพันธุ์เดียว ดอกมีสีชมพูแล้วเปลี่ยนเป็นสีขาวและมีสีเขียวสลับเมื่อใกล้โรย
    ฝัก/ผล  เม็ด
    เมล็ด  สีดำอยู่ในเนื้อหุ้ม มีลักษณะเป็นวุ้นใส
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด หัว(เหง้า)ใต้ดิน
ถิ่นกำเนิด:  ไทย
ส่วนที่ใช้บริโภค:  ก้านใบลอกผิวที่หุ้ม ใช้รับประทานเป็นอาหาร
สรรพคุณทางยา:  
    -    ดอกบำรุงหัวใจ ทำให้สดชื่น บำรุงกำลัง แก้ร้อนใน เมล็ดบำรุงกำลัง
    -    หัว บำรุงครรภ์ บำรุงธาตุ

*บัวไทยแท้ตั้งแต่สมัยสุโขทัย มีที่ประเทศไทยแห่งเดียวในโลก


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของบัวกระด้ง (3593)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Victoria Amazonica
ชื่อวงศ์:  Nympheaceae
ชื่อสามัญ:  Victoria
ชื่อพื้นเมือง:  Amazon Water Lily, Royal Water Lily, บัววิกตอเรีย, บัวกระด้ง
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นไม้น้ำหรือไม้ล้มลุกหลายฤดู ลำต้นเป็นหัวใต้ดินคล้ายหัวเผือก มีรากอวบขาวจำนวนมากแตกยึดพื้นดินไว้
    ใบ  ใบเดี่ยว เรียงสลับถี่ แผ่นใบใหญ่ค่อนข้างกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.2-2 เมตร ใบอ่อนสีม่วงแดงเข้ม ใบแก่ด้านบนมีสีเขียวเข้ม ด้านล่างมีสีเขียวอมม่วงแดง และมีหนามเล็ก ๆ ขอบใบตั้งเหมือนขอบกระด้ง ก้านใบมีหนามแข็ง
    ดอก  เป็นดอกเดี่ยวสีขาวนวล แล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพู สีชมพูเข้ม และสีม่วงแดง ตามลำดับ ดอกบานเหนือน้ำเล็กน้อย กลีบดอกมีจำนวนมาก เรียงซ้อนเป็นหลายวัน เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 20-30 ซม.
    ฝัก/ผล  มีรูปร่างค่อนข้างกลมเปลือกหนามีหนาม
    เมล็ด  เมล็ดใหญ่จำนวนมาก แมีสีดำ มีลักษณะกลมผิวเรียบเป็นมันขนาดใหญ่จำนวนมาก
ฤดูกาลออกดอก:  ออกดอกตลอดปี
การปลูก:  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับในอ่างหรือสระน้ำ
การดูแลรักษา:  เป็นบัวที่มีความทนทานปลูกเลี้ยงง่าย สามารถทนแดดทนฝนได้ดี เหมาะที่จะปลูกในบ่อกว้าง ๆ และไม่มีวัชพืชหรือพรรณไม้อื่นขึ้นปะปน
การขยายพันธุ์:  เมล็ด แยกเหง้า หน่อ
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอกกลิ่นหอมแรงในช่วงกลางคืนเริ่มบานตอนเย็นและหุบตอนเช้า
การใช้ประโยชน์:  
    -    ใช้ปลูกประดับในสระน้ำ
    -    เมล็ดเป็นอาหาร
ถิ่นกำเนิด:  อเมริกาใต้


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของบัวดิน (3594)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Zephyranthes spp.
ชื่อวงศ์:  Amarylieaceae
ชื่อสามัญ:  Zephyranthes
ชื่อพื้นเมือง:  Zephyranthes Lily, Rain Lily ,Fairy Lily, Little Witches, บัวสวรรค์, บัวดิน, บัวฝรั่ง
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นไม้หัว ขนาดเล็กเป็นไม้ล้มลุกกิ่งยืนต้น หัวมีลักษณะกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 นิ้ว ต้นเจริญ จากหัว
    ใบ  มีใบยาวเรียว บางชนิดใบแบน บางชนิดใบกลม ความยาวของใบ 6-12 นิ้ว
    ดอก  ดอกเป็นรูปกรวย มี 6 กลีบ การจัดเรียงของกลีบดอกเป็นแบบสลับ ดอกแบบชั้นเดียว มีก้านดอกยาว 4-12 นิ้ว ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว เหลือง และชมพู
ฤดูกาลออกดอก:  ในฤดูฝน
การปลูก:  ปลูกประดับในสวนหิน เนื่องจากพุ่มต้นเตี้ย ดอกเด่น หรือ ปลูกตามขอบสนามหรือ แนวรั้ว
การดูแลรักษา:  ชอบดินโปร่ง ร่วนซุย กักเก็บความชื้นดี แต่น้ำไม่ขังจนแฉะ การบังคับให้บัวสวรรค์ออกดอก ใช้หลักการ dry & wet เหมือนกับที่ใช้กับไม้หัวโดยทั่ว ๆไป คือ ถ้าเราไม่ต้องการให้ออกดอก ก็งดน้ำติดต่อกันชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ไม่ควรต่ำกว่า 15 วัน ในช่วงนี้ อาหารจะถูกเก็บสะสมที่หัว และหลังจากนั้นจึงค่อยรดน้ำ ตาดอกจะเจริญทันที และจะออกดอกหลังจากรดน้ำเพียง 5-7 วัน
การขยายพันธุ์:  เมล็ด แยกหัวไปปลูก
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  อเมริกากลาง ,อเมริกาใต้ หรือ เม็กซิโก